กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11650
ชื่อเรื่อง: โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ : กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: New Agricultural Theory Project : a case study of Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุไร ทัพวงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชญะ นาครักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมณฑา มณเทียร, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบทางด้านการเงินของการทำการเกษตรแบบเดิมและการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ในจังหวัดกาญจนบุรี (2) ศึกษาลักษณะทั่วไปเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ในจังหวัดกาญจนบุรี จากผลการวิจัยพบว่า โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่มีความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่า เนื่องจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่มีกิจกรรมการผลิตที่หลากหลาย สามารถลดภาระความเสี่ยงจากราคาผลผลิตตกต่ำ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายด้านการบริโภคของครัวเรือนจากการปลูกข้าวไว้บริโภคเองทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการ เกษตรกรส่วนมากเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการที่เน้นความพอเพียงของโครงการ และต้องการรับความช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ และเกษตรกรเห็นว่าความพอใจ ความตั้งใจและความขยันหมั่นเพียรจะช่วยให้การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ประสบผลสำเร็จจากผลการวิจัยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งค่า NPV มีค่าเท่ากับ 601,229.43 บาท ค่าB/C Ratio มีค่าเท่ากับ 1.06 และ ค่า IRR มีค่าเท่ากับ 30.78 มีค่ามากแสดงให้เห็นว่าการทำเกษตรทฤษฎีใหม่มีความเหมาะสมในการลงทุน รัฐควรสนับสนุนให้เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย มีการผลิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ให้มากขึ้น เพื่อให้ครัวเรือนสามารถพึ่งพาตนเองได้ สำหรับการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการพิจารณาต้นทุน ผลตอบแทนทางสังคม ตลอดจนการเกื้อกูลกันของกิจกรรม เพื่อให้การศึกษามีความสมบูรณ์มากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11650
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100886.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons