กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11653
ชื่อเรื่อง: สินเชื่อภาคครัวเรือนในจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Family credit in Burirum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกพล หนุ่ยศรี
ประกิจ ยี่หวาวงศ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รัชญ์ ปราบปรปักษ์
คำสำคัญ: สินเชื่อเกษตร--ไทย--บุรีรัมย์
หนี้--ไทย--บุรีรัมย์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของครัวเรือนตัวอย่างที่มีหนี้สินในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณสินเชื่อภาคครัวเรือน และ3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการชำระหนี้ภาคครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า 1) ครัวเรือนที่ศึกษามีจำนวน 571 ครัวเรือน มีหนี้สิน หรือคิดเป็นร้อยละ 81.39 สำหรับครัวเรือนที่มีหนี้นั้นพบว่า มีหนี้เฉลี่ย 56,227.44 บาทต่อครัวเรือน แต่เมื่อพิจารณาหนี้เฉลี่ยของครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมดพบว่าเท่ากับ 45,734.85 บาทต่อครัวเรือน เมื่อพิจารณาในแง่ของระดับการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนจบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีหนี้สินมากที่สุดคือเฉลี่ย 241,666.67 บาทต่อครัวเรือน และครัวเรือนที่มีสมาชิก 8 คนเป็นครัวเรือนที่มีหนี้เฉลี่ย สูงสุดคือ 118,571.00 บาทต่อครัวเรือน ในด้านอาชีพครัวเรือนที่รับเงินเดือนประจำ มีหนี้สินมากที่สุดโดยมีหนี้สินเท่ากับ 77,191.84 บาทต่อครัวเรือน และครัวเรือนกลุ่มนี้ยังเป็นครัวเรือนที่มีความสามารถชำระหนี้สูงสุด ครัวเรือนที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ต่ำสุดคือมีหนี้เฉลี่ยเท่ากับ 21,171.42 บาทต่อครัวเรือนและครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มซึ่งมีความสามารถชำระหนี้ต่ำสุดนอกจากนี้การศึกษายังพบอีกว่าเมื่อครัวเรือนมีจำนวนอาชีพเพิ่มขึ้น จะมีหนี้ลดลง และมีระดับความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น อนึ่งครัวเรือนทั้งหมดมีการกู้จากแหล่งเงินกู้เฉลี่ย1.4แหล่งต่อครัวเรือนและการกู้เงินส่วนใหญ่จะกู้จากญาติพี่น้องคิดเป็นร้อยละ 34.04 ของครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ภาคครัวเรือน เมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 คือ รายได้ ระดับการศึกษาหัวหน้าครัวเรือน จำนวนแหล่งเงินกู้ และเพศของหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งตัวแปรต่างๆเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของปริมาณหนี้ได้ร้อยละ 25.7 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ภาคครัวเรือน เมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.05 ประกอบด้วยปัจจัยที่มีความสำคัญสูงสุดตามลำดับดังนี้ รายได้ รายจ่าย และเงินออม ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการชำระหนี้ภาคครัวเรือนในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ร้อยละ 66.5
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
101791.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons