Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11654
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนี กังวานพรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกิตติพงษ์ แสงดอกไม้, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-29T07:40:10Z-
dc.date.available2024-02-29T07:40:10Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11654-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงินของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 (2) เพื่อศึกษาความต้องการถือเงินของประเทศไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 และ ในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีสร้างสมการความต้องการถือเงินโดยมีแนวคิดจากทฤษฎีความต้องการถือเงินที่ว่าปัจจัยสำคัญที่กำหนดความต้องการถือเงินประกอบด้วย รายได้ ดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในการประมาณการค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระในสมการ ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการเป็นข้อมูลทุติยภูมิในช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 และแหล่งข้อมูลสำคัญมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงินที่แท้จริงในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 และช่วงก่อนวิกฤต ปีพ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2540 คือ รายได้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (2) ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การถือเงินในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2545 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ รายได้ที่แท้จริง และอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรรายได้มีเครื่องหมายบวกซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี ส่วนค่าสัมประสิทธิ์อัตราเงินเฟ้อมีเครื่องหมายบวกซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฎี ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องจากเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นประชาชนต้องการถือเงินเพิ่มขึ้น เพื่อรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ไว้คงเดิมผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงินที่แท้จริงของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 และความต้องการถือเงินในช่วงวิกฤต และ หลังวิกฤตเศรษฐกิจ คือรายได้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีอุปสงค์การถือเงินของสำนักคลาสสิคที่เชื่อว่าปัจจัยรายได้เป็นตัวกำหนดความต้องการถือเงินth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectความต้องการถือเงินth_TH
dc.titleการวิเคราะห์ความต้องการถือเงินในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeAn analysis of demand for money in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
101792.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons