Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11654
Title: | การวิเคราะห์ความต้องการถือเงินในประเทศไทย |
Other Titles: | An analysis of demand for money in Thailand |
Authors: | กาญจนี กังวานพรศิริ กิตติพงษ์ แสงดอกไม้, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ |
Keywords: | ความต้องการถือเงิน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงินของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 (2) เพื่อศึกษาความต้องการถือเงินของประเทศไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 และ ในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีสร้างสมการความต้องการถือเงินโดยมีแนวคิดจากทฤษฎีความต้องการถือเงินที่ว่าปัจจัยสำคัญที่กำหนดความต้องการถือเงินประกอบด้วย รายได้ ดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในการประมาณการค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระในสมการ ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการเป็นข้อมูลทุติยภูมิในช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 และแหล่งข้อมูลสำคัญมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงินที่แท้จริงในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 และช่วงก่อนวิกฤต ปีพ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2540 คือ รายได้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (2) ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การถือเงินในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2545 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ รายได้ที่แท้จริง และอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรรายได้มีเครื่องหมายบวกซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี ส่วนค่าสัมประสิทธิ์อัตราเงินเฟ้อมีเครื่องหมายบวกซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฎี ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องจากเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นประชาชนต้องการถือเงินเพิ่มขึ้น เพื่อรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ไว้คงเดิมผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงินที่แท้จริงของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 และความต้องการถือเงินในช่วงวิกฤต และ หลังวิกฤตเศรษฐกิจ คือรายได้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีอุปสงค์การถือเงินของสำนักคลาสสิคที่เชื่อว่าปัจจัยรายได้เป็นตัวกำหนดความต้องการถือเงิน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11654 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
101792.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License