Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11656
Title: การวิเคราะห์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างขีดความสามารถทางเทคนิค : กรณีศึกษาบริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน
Other Titles: An analysis of technology transfer for the technical capability building : a case study of Thai Airways International Public Company Limited
Authors: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิติพงค์ พร้อมวงค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัณฑ์ชัย ปึงหลั่งสิน, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: บริษัทการบินไทย
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ 1) สภาพทั่วไปของการซ่อมบำรุงอากาศยาน 2) รูปแบบและช่องทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี 4) ปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี 5) ขีดความสามารถในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการซ่อมบำรุงอากาศยานของฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ผลการศึกษาพบว่า สภาพทั่วไปของการซ่อมบำรุงอากาศยานคือเทคโนโลยีด้านอากาศยานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้การซ่อมบำรุงอากาศยานมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติงานจึงควรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ค่าเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 30 - 35 รูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผลคือ รูปแบบของการซื้ออากาศยานและอุปกรณ์อากาศยานจากผู้ผลิตโดยมีสัญญาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.15 -3.95 และ ช่องทางของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผลคือ การอบรม ประชุม สัมมนา ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.05 - 3.75 ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการซ่อมบำรุงอากาศยานประสบผลสำเร็จ คือ การให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้ปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยระหว่าง ร้อยละ 45 - 50 ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของการถ่ายทอดเทคโนโลยีการซ่อมบำรุงอากาศยาน คือ การที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ค่าเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 40 – 50 ขีดความสามารถในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถสูงในการรับจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับมาไปปฏิบัติงานได้ทันที หลังจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีค่าเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 30 - 50
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11656
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
105627.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons