กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11661
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ และขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on the comparative advantage and competitiveness of gem and jewelry industry of Thailand and the People's Republic of China
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สัจจรังสิตสกุล, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การแข่งขันทางการค้า
อุตสาหกรรมอัญมณี
อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย เปรียบเทียบกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบเชิงแข่งขันของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย (3) หาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้ ผลการศึกษาพบว่า (1) ค่า RCA เฉลี่ยในสินค้าพลอยเนื้อแข็งที่เจียระไนแล้ว ของประเทศไทยในตลาดสหรัฐอเมริกามีค่า 28.07 ตลาดญี่ปุ่นมีค่า 17.42 ตลาดสหราชอาณาจักรมีค่า 24.11 ส่วนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในตลาดสหรัฐอเมริกามีค่า 0.01 ตลาดญี่ปุ่นมีค่า 0.08 และตลาดสหราชอาณาจักรมีค่า 0.03 ค่า RCA เฉลี่ย ในสินค้าเครื่องประดับเงินของประเทศไทย ในตลาดสหรัฐอเมริกามีค่า 21.82 ตลาดญี่ปุ่นมีค่า 4.59ตลาดสหราชอาณาจักรมีค่า 64.60 ส่วนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในตลาดสหรัฐอเมริกามีค่า 1.88 ตลาดญี่ปุ่นมีค่า 0.34 และตลาดสหราชอาณาจักรมีค่า 1.42 ค่า RCA เฉลี่ย ในสินค้าเครื่องประดับทองคำของประเทศไทย ในตลาดสหรัฐอเมริกามีค่า 7.95 ตลาดญี่ปุ่นมีค่า 1.87 ตลาดสหราชอาณาจักรมีค่า 8.04 ส่วนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในตลาดสหรัฐอเมริกามีค่า 0.68 ตลาดญี่ปุ่นมีค่า 0.17 และตลาดสหราชอาณาจักรมีค่า 0.9 ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเหนือกว่าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในทุกตัวสินค้าและทุกตลาดที่ได้ศึกษา (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบเชิงแข่งขันของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยคือ ช่างฝีมือชาวไทยมีความละเอียดและประณีต และมีเทคนิคในการเผาพลอยให้มีสีสันสวยงาม (3) แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้นั้นควรพัฒนาคุณภาพของแรงงานอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเทคโนโลยีให้ทันสมัย ตลอดจนควรสร้างตราสัญลักษณ์เป็นของตนเอง และขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11661
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108757.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons