Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธิติยา พิณพาทย์, 2499--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-03-01T02:51:44Z-
dc.date.available2024-03-01T02:51:44Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11667-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractในปัจจุบันปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาในด้านทรัพยากรน้ำ รัฐจึงมีนโยบายที่จะนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการแก้ปัญหาการปล่อยมลพิษทางน้ำกับโรงงานอุตสาหกรรมผู้ปล่อยมลพิษ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษลดการก่อมลพิษและต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่าย จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้เพื่อที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายที่จะเก็บภาษีมลพิษทางน้ำ โดยได้เลือกจังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ กรณีศึกษาเนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก และมีจำนวนหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณริมน้ำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบนโยบายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมของกระทรวงการคลัง 2) ทบทวนประสบการณ์การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากกรณีน้ำเสียของต่างประเทศ และ 3) ประเมินรายได้จากการจัดเก็บภาษีรวมถึงทัศนคติของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีต่อการจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการใน การเสียภาษีเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่เห็นด้วยกับอัตราภาษีที่จัดเก็บ และในส่วนของการประเมินรายได้จากการจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำตามแนวทางในร่างกฎหมายของกระทรวงการคลัง สำหรับโรงงานขนาดใหญ่การจัดเก็บภาษีใช้อัตราแปรผันตามปริมาณน้ำทิ้งซึ่งมาตรฐานของน้ำทิ้งที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะอาจจะไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด และมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่ในกระบวนการผลิตมีปริมาณการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ปริมาณน้ำทิ้งจึงมีมาก จำนวนภาษีที่จะต้องเสียก็จะมีจำนวนมากตามไปด้วย ส่วนในโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กการจัดเก็บภาษีในอัตราคงที่ก็มีความสะดวกและคำนวณง่าย สำหรับรายได้จากการจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำที่คำนวณได้รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 16.189 ล้านบาท จากโรงงานขนาดเล็กจำนวน 5.835 ล้านบาท จากโรงงานขนาดกลางจำนวน 3.520 ล้านบาท จากโรงงานขนาดใหญ่จำนวน 6.834 ล้านบาทth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมลพิษทางน้ำ--ไทย--ปทุมธานีth_TH
dc.subjectค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectการจัดการคุณภาพน้ำth_TH
dc.titleการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำในภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeEnvironment taxation in managing water pollution problem for industrial sector : a case study of Pathum Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110001.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons