กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11668
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An analysis on the effect of inflation on personal in come tax burden |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ ธิดารัตน์ ชูชุมพร, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปรัชญ์ ปราบปรปักษ์ |
คำสำคัญ: | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา--ผลกระทบจากเงินเฟ้อ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (2) ศึกษาผลของภาวะเงินเฟือที่มีต่อความเป็นธรรมทางภาษี ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งผลทางทฤษฎี พบว่าผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีเพิ่มขึ้น ยกเว้นในปี 2522 ปี 2528 และปี 2543-2545 พบว่า ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีลดลงเมื่อมีการเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนหลังจากที่มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษี การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษี การเพิ่มการหักค่าใช้จ่าย และการเพิ่มการหักค่าลดหย่อนต่างๆ ในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีลดลง ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้มากรับภาระภาษีมากกว่าผู้มีเงินได้น้อยและทำให้ผู้ที่มีผู้พึ่งพาน้อยรับภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีผู้พึ่งพามาก สำหรับผลทางปฏิบัติ พบว่า ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีมากขึ้น การปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีในช่วงภาวะเงินเฟ้อโดยการลดอัตราภาษีและขยายฐานเงินได้สุทธิของผู้มีเงินได้น้อยมีส่วนช่วยลดภาระภาษีได้ เช่น ในปี 2517 ปี 2523 ปี 2529 ปี 2532 ปี 2535 ปี 2542 และปี 2546 และหากมีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีดังกล่าวพร้อมกับเพิ่มอัตราการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เช่น ในปี 2517 ปี 2523 ปี 2532 และปี 2546 จะช่วยลดภาระภาษีในช่วงภาวะเงินเฟ้อได้มากขึ้น (2) ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้การใช้โครงสร้างภาษีอัตราก้าวหน้าเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมทางภาษีลดลง ซึ่งผลทางทฤษฎี พบว่า ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้น้อยรับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อหรือรับภาระภาษีส่วนเกินมากกว่าผู้ที่มีเงินได้มาก และทำให้ผู้ที่มีผู้พึ่งพามากรับผลกระทบจากภาวะเงินเฟือหรือรับภาระภาษีส่วนเกินมากกว่าผู้ที่มีผู้พึ่งพาน้อย นั่นคือ ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้การใช้โครงสร้างภาษีอัตราก้าวหน้าเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมทางภาษีลดลง สำหรับผลทางปฏิบัติ พบว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในช่วงปี 2509-2548 ยังไม่สามารถขจัดผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เนื่องจากผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้เกิดภาระภาษีส่วนเกินมากขึ้น ทำให้การใช้โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปี 2509-2548 เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมทางภาษีลดลง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11668 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
110181.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License