Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorโสภิดา ชูมี, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-03-01T08:02:03Z-
dc.date.available2024-03-01T08:02:03Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11673-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะทั่วไปเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของเม็ดพลาสติกในประเทศไทย 2) ศึกษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกในประเทศไทยกับประเทศคู่แข่งขันในตลาดโลกและตลาดคู่ค้าที่สำคัญ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกในประเทศไทย 4) ศึกษาศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกในประเทศไทย และ 5) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเทศไทย ผลิตโพลีเอทิลีนได้เฉลี่ยปีละ 1,127 พันตัน นำเข้า 252 พันตันและส่งออก 806 พันตัน โพลีอะซิทัลผลิต 792 พันตัน นำเข้า 180 พันตันและส่งออก 741 พันตัน โพลีโพรพิลีนผลิต 742 พันตัน นำเข้า 169 พันตันและส่งออก 452 พันตัน และโพลีสไตรลีนผลิต 357 พันตัน นำเข้า 161 พันตันและส่งออก 350 พันตัน 2) ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในโพลีอะซิทัลคือมีค่า RCA > 1 หรือเฉลี่ย1.71ในตลาดโลก ตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในโพลีเอทิลีน โพลีโพรพิลีน และโพลีสไตรลีน มีค่า RCA >1 หรือเฉลี่ย 2.03 3.08 และ 3.56 ตามลำดับ ตลาดญี่ปุ่นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในโพลีโพรพิลีนและโพลีอะซิทัลมีค่า RCA > 1 หรือเฉลี่ย 3.33 และ 2.75 ตลาดสหรัฐอเมริกามีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในโพลีอะซิทัล ยกเว้นปีพ.ศ.2541 มีค่า RCA< 1 คือ 0.59 และตลาดออสเตรเลียมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในโพลีอะซิทัลมีค่า RCA >1 หรือเฉลี่ย 2.37 และโพลีโพรพิลีนในช่วงปีพ.ศ. 2542 - 2550 มีค่า RCA >1 หรือเฉลี่ย 4.52 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกในตลาดโลกพบว่าเป็นผลจากความสามารถในการแข่งขันอันดับแรก รองลงมาคือ ผลจากการขยายตัวของตลาดโลกโดยเฉลี่ยและผลจากส่วนประกอบของสินค้า ตลาดส่งออกสำคัญพบว่าเป็นผลจากความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับแรกรองลงมาคือผลจากการขยายตัวของตลาดโลกโดยเฉลี่ย และผลจากส่วนประกอบสินค้า 4) อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทยมีศักยภาพการแข่งขันโดยมีปัจจัยสนับสนุนในด้านปัจจัยการผลิตด้านอุปสงค์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง และนโยบายรัฐบาลที่เข้มแข็ง 5) ปัญหาของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทยคือ ขาดเงินทุน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อุปสรรคคือ การทุ่มตลาดของประเทศคู่แข่งth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก--ไทยth_TH
dc.subjectการแข่งขันทางการค้าth_TH
dc.titleการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeAn analysis of capability on competitiveness of plastic resin industry in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112210.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons