Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศรีไสล อุปนันชัย, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-03-02T08:34:20Z-
dc.date.available2024-03-02T08:34:20Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11679-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการการผลิตพริกของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่พริก 2) ปัจจัยภายในและภายนอกในการจัดการการผลิตพริกของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่พริก 3) ปัญหาในการจัดการการผลิตพริกของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่พริก และ 4) แนวทางการจัดการการผลิตพริกคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่พริก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่พริกอำเภอหนองม่วงไข่ จ.แพร่ ที่จัดตั้ง พ.ศ. 2560 จำนวน 56 ราย โดยใช้ประชากรทั้งหมด ใช้แบบสอบถามที่มีคำถามปลายเปิดและปลายปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ประธานและคณะกรรมการแปลงใหญ่ 10 ราย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรสำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วงไข่ ผู้รับผิดชอบงานเกษตรปลอดภัย 1 ราย และผู้รับซื้อพริก 2 ราย รวมทั้งหมด 13 ราย ใช้การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการการผลิตพริกของเกษตรกร ด้านการจัดการพื้นที่ เกษตรกร เลือกพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขังและมีการปลูกพืชหมุนเวียน เกษตรกรทั้งหมดใช้พริกพันธุ์หยกสยาม เกษตรกรแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เพาะเมล็ดในถาดเพาะ วิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำแปลงกว้าง 1.2 เมตร ยาวตามขนาดพื้นที่ แปลงสูง 15-20 เซนติเมตร และเกษตรกรทั้งหมดคลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมดิน ระยะปลูก 30x40 เซนติเมตร ให้น้ำแบบระบบน้ำพุ่ง ให้ปุ๋ยด้วยเครื่องหยอดปุ๋ย และให้ธาตุอาหารรอง มีการตัดแต่งกิ่งแขนงใต้ง่ามแรก ป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยสารเคมีและชีวภัณฑ์ และเก็บเกี่ยวในระยะที่ตลาดต้องการ 2) ปัจจัยภายในและภายนอกในการจัดการผลิตพริกคุณภาพในระดับมาก 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในด้านการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ ปัจจัยภายนอกด้านแหล่งความรู้เทคโนโลยีและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ด้านตลาดและแหล่งรับซื้อ 3) ปัญหาในการจัดการผลิตพริกคุณภาพพบว่าในภาพรวมพบปัญหามากด้านโรคแมลง สภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ผลผลิตราคาตกต่ำต้นทุนการผลิตที่สูงแรงงานหายาก 4) แนวทางการจัดการการผลิตพริกคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่พริก แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ กลยุทธ์เชิงรุก เน้นการส่งเสริมและความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเกษตรกร กลยุทธ์เชิงรับ มุ่งเน้นให้เกษตรกรมีการแก้ไขปัญหาและแนวทางปฏิบัติผ่านระบบการรวมกลุ่ม กลยุทธ์เชิงพัฒนา มุ่งเน้นหน่วยงานภาครัฐเพื่อการพัฒนาด้านการผลิต ตลาดและแหล่งเงินทุน กลยุทธ์เชิงพลิกแพลง มุ่งเน้นหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาระบบการผลิตสู่เกษตรนวัตกรรมควบคู่การสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectพริกth_TH
dc.subjectพริก--การปลูกth_TH
dc.titleการจัดการการผลิตพริกคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่พริกอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่th_TH
dc.title.alternativeQuality chili production management for collaborative farm of chili farmer group in Nong MuangKhai district, Phrae Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169227.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons