กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11681
ชื่อเรื่อง: | ดัชนีชี้นำผสมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Composite leading indicators of real property business (housing) in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกพล หนุ่ยศรี วัชรินทร์ วันณะ, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปรัชญ์ ปราบปรปักษ์ |
คำสำคัญ: | ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์--แง่เศรษฐกิจ--ไทย ที่อยู่อาศัย--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยของประเทศไทย (2) สร้างดัชนีชี้นำผสมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ซึ่งเก็บรวบรวมจากธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารแห่งประเทศไทยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสระหว่างปี พ.ศ.2536- 2547 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบตามวิธี Granger Causality test เพื่อกำหนดตัวแปรต่อจากนั้นจะนำตัวแปรที่ได้กำหนดขึ้นมาสร้างเป็นดัชนีชี้นำผสมตามวิธีของ National Bureau of Economic Research (NBER) ของสหรัฐอเมริกาโดยไม่มีการถ่วงน้ำหนักของตัวแปรและนำดัชนีชี้นำผสมมาวิเคราะห์ความสามารถในการชี้นำเปรียบเทียบกับดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสาขาก่อสร้างที่ได้จัดทำขึ้นเป็นดัชนีพ้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ใช้เป็นตัวชี้วัดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ 10 ตัวแปรดังนี้ คือ ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ดัชนีราคาที่ดิน ดัชนีราคาบ้านและที่ดิน มูลค่าการซื้อขายที่ดินภายในประเทศ ดัชนีเงินเฟ้อ ดัชนีราคาทาวเฮ้าส์และที่ดินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีของสถาบันการเงิน ปริมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงค้างของสถาบันการเงิน ปริมาณการบริโภคน้ำมันดีเซล พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั่วประเทศ (2) ดัชนีชี้นำผสมที่สร้างขึ้นมีค่าระหว่าง 100 ถึง 112.58 ในการศึกษาความสามารถในการชี้นำพบว่าตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี พ.ศ.2536 ถึงไตรมาส 4 ปี พ.ศ 2547 ดัชนีชี้นำผสมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยของประเทศไทยที่สร้างขึ้นไม่สามารถชี้นำจุดสูงสุด(Peak)ได้แต่สามารถชี้นำจุดต่ำสุด (Trough) ได้7ไตรมาสเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคการก่อสร้าง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11681 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
114895.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License