กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11685
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับการผลิตภาพแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between the minimun wage rate and labor productiveity in the industial sector in the Lower Southers Provinces of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาธิต สิริภัทท์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ค่าจ้างกับแรงงาน
ค่าจ้างกับแรงงาน--ไทย (ภาคใต้ตอนล่าง)
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับผลิตภาพแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง 2) การเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง และ3) การเปลี่ยนแปลงของดัชนีผลิตภาพแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่างเมื่อเปรียบเทียบกับปีฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นตัวเงิน มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกับผลิตภาพแรงงานสาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคมของจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานีและยะลา แต่มีความสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้ามในสาขาการก่อสร้างของจังหวัดสตูล สงขลาและนราธิวาส และสาขาการผลิตของจังหวัดนราธิวาส ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แท้จริงมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกับผลิตภาพแรงงานสาขาการทำเหมืองแร่และย่อยหินของจังหวัดสตูล และกับสาขาการขนส่งและสาขาสถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคมของจังหวัดสตูลและยะลา แต่มีความสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้าม ในสาขาการก่อสร้างของจังหวัดสตูลและสงขลา และในสาขาการผลิตของจังหวัดนราธิวาส 2) การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพแรงงานในสาขาการทำเหมืองแร่และย่อยหิน มีมูลค่าและอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้ง 5 จังหวัดต่อปีสูงสุด จำนวน 455,743 บาทต่อคนต่อปี และร้อยละ 73.67 ต่อปี สาขาการก่อสร้างมีมูลค่าเฉลี่ยทั้ง 5 จังหวัดต่อปีต่ำสุด จำนวน 39,746 บาทต่อคนต่อปี สาขาการผลิตมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้ง 5 จังหวัดต่อปีต่ำสุด ร้อยละ 0.38 ต่อปี และ 3) การเปลี่ยนแปลงดัชนีผลิตภาพแรงงานในสาขาการทำเหมืองแร่และย่อยหินมีค่าดัชนีผลิตภาพแรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีฐานเฉลี่ยทั้ง 5 จังหวัดต่อปีสูงสุด ร้อยละ 688.08 ต่อปี ในขณะที่สาขาการก่อสร้างมีค่าดัชนีผลิตภาพแรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีฐานเฉลี่ยทั้ง 5 จังหวัดต่อปีต่ำสุด ร้อยละ 32.39 ต่อปี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11685
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118066.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons