กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11688
ชื่อเรื่อง: | การทดสอบทฤษฎี Prospect Throry ของ Kahneman และ Tversky กับกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A test on Kahneman & Tversky's Prospect Theory on the local subject groups in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ พิทยา สิทธิอำนวย, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริพร สัจจานันท์ |
คำสำคัญ: | เศรษฐศาสตร์--ทฤษฎี การตัดสินใจ ความเสี่ยง |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแนวความคิด Prospcct Thcory ของKahncman และ Tversky กับกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยว่าสามารถอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เมื่อต้องทำการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงว่ามีความแตกต่างไปจากความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์หรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างสอดคล้องกับผลที่ได้จากงานวิจัยของ Kahneman และ Tversky และมีนัยยะสำคัญทางสถิติในกรณีต่อไปนี้ 1) การเลือกระหว่างทางเลือกที่มีความเสี่ยงทั้งสองด้านนั้น ผู้ตอบคำถามจะเลือกทางเลือกที่มีรางวัลสูงกว่า 2) หากความน่าจะเป็นของทั้งสองทางเลือกลดลงในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันแล้ว เมื่อทั้งสองทางเลือกมีความเสี่ยง ผู้ตอบคำถามจะเลือกทางเลือกที่มีรางวัลสูงกว่า 3) กรณีการเลือกทางเลือกที่ผลลัพธ์ไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นการท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงทั้งสองทางเลือก การเลือกคำตอบของกลุ่มตัวอย่างจะเลือกทางเลือกที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากประเทศกว่า แม้ว่าจะมีความน่าจะเป็นที่จะได้ไปเที่ยวน้อยกว่า 4)เมื่อทางเลือกทั้งสองทางมีค่าความน่าจะเป็นสูง ผู้ตอบคำถามจะเลือกทางที่มีความน่าจะเป็นค่าสูงกว่า ส่วนระหว่างทางเลือกที่ความน่าจะเป็นต่ำ ผู้ตอบจะเลือกทางเลือกที่ค่า Gains มีมูลค่าที่สูงกว่า 5)พบว่าเกิด Framing Effect แม้ว่าจำนวนของผู้ที่เลือกทางเลือกที่สอดคล้องกันจะมีจำนวนน้อยกว่า |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11688 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118366.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License