กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11693
ชื่อเรื่อง: วิเคราะห์ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อฟื้นฟูสภาพอากาศในเขตควบคุมมลพิษของจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of willingness to pay for an improvement of air quality in the pollution control area of Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์
ณัฐกิตติ์ กิตติณัฎฐพงศ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์
คำสำคัญ: มลพิษทางอากาศ--ไทย--ระยอง
มลพิษทางอากาศ--การป้องกันและควบคุม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ป่วยซึ่งอาจจะเป็นผลสืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นและการสะสมของมลพิษทางอากาศจากการที่มีการขยายตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และ 2) การวิเคราะห์ความเต็มใจที่ประชาชนในจังหวัดระยองจะจ่ายเงินส่วนตัว เพื่อฟื้นฟูสภาพอากาศในเขตควบคุมมลพิษของจังหวัด ผลการวิจัยพบว่ามูลค่าที่คนส่วนใหญ่จะเต็มใจจะลงคะแนนเสี่ยงเพื่อที่จะให้มีการเก็บเงินจากครัวเรือนเพื่อนำมาใช้ในการฟื้นฟูคุณภาพอากาศในเขตควบคุมมลพิษของจังหวัดระยองคือ 1,000 บาท/ปี/ครัวเรือน ถ้านำเงินจำนวนนี้มาคูณกับจำนวนประชากรของจังหวัดระยองจะทำให้ได้มูลค่ารวม เท่ากับ 297 ล้านบาท มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยที่มาจากการคำนวณโดยวิธี Parametric เท่ากับ 4,699.51 บาท/ปี/ครัวเรือน ซึ่งจะทำให้ได้มูลค่ารวม 1,401 ล้านบาท และคำนวณโดยวิธี Non-parametric จะได้มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ย และมูลค่ารวม เท่ากับ 1,483.33 บาท/ปี/ครัวเรือน 442 ล้านบาท ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบจำลองโลจิต (Logistic Regression) พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจว่าจะจ่ายหรือไม่ 5 ตัวแปรคือ มูลค่าที่จะให้จ่าย รายได้อายุ การศึกษา และสถานภาพการสมรส
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11693
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119087.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons