กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11700
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงในตราสารทางการเงินสำหรับการจัดพอร์ตการลงทุน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The comparative analysis on return and risk of the financial asset for portfolio investment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิญญา วนเศรษฐ นพดล อุดมวิศวกุล, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ |
คำสำคัญ: | การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน อัตราผลตอบแทน |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะของตราสารทางการเงิน 3 ประเภท ได้แก่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารทางการเงินดังกล่าว และ (3) ศึกษารูปแบบการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในตราสารทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า (1) ตราสารหนี้มีลักษณะที่ผู้ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ ตราสารทุนมีลักษณะที่ผู้ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ รวมทั้งมีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล ในขณะที่ ตราสารอนุพันธ์ไม่ได้มีมูลค่าจากตราสารเองแต่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (2) อัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงของตราสารหนี้ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ จากการวิเคราะห์ด้วยมาตรวัดชาร์ป ในระดับความเสี่ยงเดียวกัน ตราสารหนี้ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารทุน และตราสารทุนให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารอนุพันธ์ ในขณะที่ การวิเคราะห์ด้วยมาตรวัดเทรเนอร์ และมาตรวัดเจนเซ่น ในระดับความเสี่ยงเดียวกัน ตราสารทุนให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ และตราสารหนี้ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารอนุพันธ์ (3) รูปแบบการจัดพอร์ตการลงทุนในตราสารทางการเงินจากการคำนวณค่าเฉลี่ยของผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงตามมาตรวัดชาร์ป ควรกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 70 27 3 ตามลำดับ ในขณะที่ จากการคำนวณค่าเฉลี่ยของผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงตามมาตรวัดเทรเนอร์ควรกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 33 53 14 ตามลำดับ และมาตรวัดเจนเซ่น ควรกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 33 34 33 ตามลำดับ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11700 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128984.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License