กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11713
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การใช้ข้อมูลทางภาษีในการจัดทำเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of tax's data used for making economics indicators : a case study of Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์
เอกรัตน์ บุรมัธนานนท์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์
คำสำคัญ: เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ--ไทย--นครปฐม
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของสาขาการผลิตหลักกับสาขาการผลิตรองของจังหวัดนครปฐม 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการจัด เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาการผลิตหลักที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครปฐมและ 3) พยากรณ์ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาการผลิตหลักของจังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า 1) สาขาเศรษฐกิจที่เป็นสาขาเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครปฐมมี 3 สาขา คือ สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาการก่อสร้าง โดยมีค่าเฉลี่ยสัดส่วนถื่นฐานของสาขาเศรษฐกิจหลักของจังหวัดที่ระดับ 1.66 , 1.48 และ 1.04 ตามลำดับ 2) ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาเศรษฐกิจหลักของจังหวัดกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมากที่สุดและ 3) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจริงสาขาอุตสาหกรรมการผลิตกับค่าพยากรณ์ผลการจัดเก็บจากสมการแบบจำลองมีความใกล้เคียงกัน การศึกษานี้เห็นว่าผลการพยากรณ์การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสาขาอุตสาหกรรมการผลิตสามารถใช้เป็นข้อมูลตัวชี้พ้องภาวะเศรษฐกิจของจังหวัด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11713
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135304.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons