Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11720
Title: การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Extension and development of cassava production of farmers in Lan Sak District, Uthai Thani Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สืบศักดิ์ บุญสืบ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มันสำปะหลัง--การปลูก
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี (2) สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี (3) การปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม (GAP) ในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี และ (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ผลการศึกษาพบว่า (I) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 11 ปี พันธุ์ที่ใช้ปลูกนิยมใช้ระยอง 5 มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 35.27 ไร่ ผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เฉลี่ย 3.06 ตันมีรายได้จากการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 5,518.4 บาท/ไร่ ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร โดยภาพรวมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง โดยรับรู้ผ่านช่องทางจากสื่อบุคคล สื่อกิจกรรม สื่อมวลชน และจากสื่อสิ่งพิมพ์ตามลำดับ (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปรับปรุงดินก่อนปลูก นิยมปลูกแบบยกร่อง ส่วนใหญ่ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่มีอายุระหว่าง 8-12 เดือน เก็บท่อนพันธุ์ไว้ปลูกเอง ลักษณะการปลูกส่วนมากปักท่อนพันธุ์แบบตั้ง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 มีการกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีกำจัด มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงโดยการตรวจแปลงก่อนการใช้สารเคมี มีการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง เมื่ออายุ 8-12 เดือน การขายมันสำปะหลังอยู่ในรูปหัวมันสด (3) เกษตรกรปฏิบัติตามระบบ (GAP) โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตาม (GAP) ระดับมาก โดยด้านที่ปฏิบัติตามมากที่สุดคือ ด้านพันธุ์ รองลงมาคือ ด้านการเก็บเกี่ยวน้อยที่สุดคือด้านการบันทึกข้อมูล (4) เกษตรกรโดยภาพรวมมีปัญหาการผลิตมันสำปะหลังระดับปานกลางเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ด้านการตลาด และด้านการผลิต ข้อเสนอแนะต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการในการประกันราคามันสำปะหลัง และ และมีการควบคุมราคาวัตถุดิบในการผลิตให้มีราคาที่เหมาะสม (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดในรูปแบบการส่งเสริมแบบสาธิต และการส่งเสริมแบบการฝึกปฏิบัติ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11720
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons