Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11738
Title: | การพิจารณาคดีระบบไต่สวน : ศึกษากรณีความเหมาะสมในการนำมาใช้ กับคดีอาญาที่กล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด |
Other Titles: | Investigation system: a case study of suitability for use in criminal cases where the accused are youths or juveniles |
Authors: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ ปาณิสรา หนองดี, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุพัตรา แผนวิชิต |
Keywords: | การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี วิธีพิจารณาความอาญา การพิจารณาทบทวนโดยศาล การพิจารณาและตัดสินคดี กระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | กการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีในระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน (2) เปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น สหพันธรัฐเยอรมนีและกฎหมายของไทย (3) วิเคราะห์เกี่ยวกับการนำระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดในศาลเยาวชนและครอบครัว (4) เสนอแนะแนวทางถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับการนำระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคตีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ผลการศึกษาพบว่า (1) วิธีพิจารณาคดีในระบบกล่าวหามีแนวคิดที่ถือว่าคู่ความมีฐานะในศาลที่เท่าเทียมกัน ศาลมีบทบาทในการค้นหาความจริงในคดีค่อนข้างน้อย โดยทำหน้าที่เป็นเพียงคนกลางเพื่อควบคุมให้การดำเนินคดีเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนระบบไต่สวน ศาลมีบทบาทสำคัญในการค้นหาความจริงเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากที่สุด และทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการพิจารณาที่ศาลต้องใช้วิธีการพิจารณาคดีให้เหมาะสมกับประเภทคดีและสถานะของคู่ความเพื่อความเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งกฎหมายไทยมีบทบัญญัติให้ศาลมีอำนาจในการค้นหาความจริงแห่งคดีไว้อย่างกว้างขวางในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (2) การพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐเยอรมนีมีผู้พิพากษาไต่สวนทำหน้าที่ค้นหาความจริงในคดีได้ในทุกรูปแบบโดยอยู่ภายใต้หลักความเป็นอิสระของศาล กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ผู้พิพากษาทำหน้าที่สืบสวนและสืบเสาะก่อนที่จะมีคำพิพากษา ส่วนกฎหมายของประเทศอังกฤษและกฎหมายไทยผู้พิพากษาไม่มีบทบาทในการค้นหาความจริงแห่งคดีในชั้นก่อนพิจารณา (3) เมื่อวิเคราะห์ถึงกระบวนการพิจารณาคดี โดยส่วนใหญ่เด็กหรือเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีจะขาดความรอบคอบหรือขาดประสบการณ์ในการพิจารณาหรือดำเนินการต่าง ๆ ทำให้ไม่รู้จักสิทธิของตนและไม่สามารถรักษาสิทธิของตนได้อย่างเต็มที่ และผู้พิพากษาซึ่งอาจไม่ได้ใช้อำนาจในการแสวงหาพยานหลักฐานได้อย่างที่กฎหมายให้อำนาจไว้เพราะติดขัดเรื่องประมวลจริยธรรมและความคุ้นชิน (4) การพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวนให้ศาลได้มีบทบาทเชิงรุกในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อให้ทราบสาเหตุแห่งการกระทำความผิดจึงเหมาะสมกับการนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้เด็กหรือเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งให้ตรงกับสภาพปัญหาและประเภทความผิดมากกว่ามุ่งให้ได้รับโทษทางอาญา |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11738 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License