กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11743
ชื่อเรื่อง: | การทดสอบประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย 4 ประเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The stock market efficiency test in four Asian countries |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิญญา วนเศรษฐ พรหมพระจักร เพ็งสวัสดี, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พอพันธ์ อุยยานนท์ |
คำสำคัญ: | ตลาดหลักทรัพย์--ไทย ตลาดหลักทรัพย์--ฮ่องกง ตลาดหลักทรัพย์--ญี่ปุ่น ตลาดหลักทรัพย์--อินโดนีเซีย ทฤษฎีประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของตลาดหลักทรัพย์เอเชีย 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์เอเชีย 3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์เอเชีย ของ 4 ประเทศประกอบด้วย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (JKSE) ตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (NIKKEI) และตลาดหลักทรัพย์เขตปกครองพิเศษฮ่องกง (HSKI) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์เอเชียทั้ง 4 แห่งว่ามีประสิทธิภาพในระดับอ่อน หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า 1) การเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เอเชียทั้ง 4 แห่ง มีการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับพื้นฐานของสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดขนาดเล็กสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์การเงินสหรัฐอเมริกาและยุโรป ได้เร็วกว่าตลาดที่มีมูลค่าตามราคาตลาดขนาดใหญ่อย่างตลาดหลักทรัพย์เขตปกครองพิเศษฮ่องกงและตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น 2) ชุดข้อมูลดัชนีราคาตลาดมีคุณสมบัตินิ่งที่ระดับผลต่างอันดับขั้นที่หนึ่ง หรือ I(1) และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพตลาด ด้วยวิธีทดสอบความแปรปรวน Variance Ratio (LOMAC 1988) พบว่า ดัชนีราคาตลาดไม่เคลื่อนไหวเป็นแบบเดินสุ่ม และในทำนองเดียวกันกับการทดสอบความแปรปรวน Variance Ratio (Chow-Denning 1993) การทดสอบความผันผวน GARCH(1,1) และการทดสอบสมมติฐานตลาดแบบเดินสุ่ม (RWH) ก็ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ต่างกัน คือ ดัชนีราคาตลาดไม่เคลื่อนไหวเป็นแบบเดินสุ่ม และราคาในอดีตมีการส่งผ่านมาถึงราคาในปัจจุบัน 3) ตลาดหลักทรัพย์เอเชีย 4 ประเทศ ไม่เคลื่อนไหวเป็นแบบเดินสุ่ม สามารถพยากรณ์ทิศทางตลาดในปัจจุบันและอนาคตจากราคาอดีตได้ ดังนั้นจึงเป็นตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพแบบอ่อนตามทฤษฎีสมมติฐานประสิทธิภาพตลาด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11743 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
137466.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License