Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11749
Title: การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
Other Titles: Participation in the operations of farmer housewife group members in Takua Thung District, Phang Nga Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรวรรณ พานิกร, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: เกษตรกร --การรวมกลุ่ม--ไทย--พังงา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2) ความรู้ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 3) การมีส่วนร่วมและแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4) การได้รับการสนับสนุน ปัญหา และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มมีอายุเฉลี่ย 51.13 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.17 คน ประกอบอาชีพการทำสวนเป็นอาชีพหลัก มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 9.91 ปี มีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 84,624.14 บาทต่อปี และผลตอบแทนจากการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้รับเป็นเงินปันผล 2) ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะประเด็นด้านงานรวมและบทบาทด้านสังคม ระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะจากสื่อกลุ่มและสื่อออนไลน์ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การลงทุนและการปฏิบัติงาน และด้านแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและต้องการเครือข่ายการตลาด 4) การได้รับการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ครู นักพัฒนาชุมชน ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาได้แก่สมาชิกขาดเงินลงทุนหรือลงหุ้น ไม่มีความรู้ด้านการวางแผน โดยมีข้อเสนอแนะ คือ เสนอให้มีกิจกรรมปรับทัศนะคติและการมองเป้าหมายกลุ่มให้เป็นทิศทางเดียวกัน 5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ได้แก่ ระดับความรู้ของสมาชิก แรงจูงใจ การได้รับการสนับสนุน และระดับปัญหาในการมีส่วนร่วม
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11749
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons