Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11750
Title: | แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) กรมส่งเสริมการเกษตร สาหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร |
Other Titles: | Development guideline of DOAE e-learning for agricultural extension officers |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ ศศิวิมล บุญประเสริฐ, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมส่งเสริมการเกษตร 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิจัย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่มีวิธีการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการเรียนรู้เนื้อหาด้านส่งเสริมการเกษตร โดยศึกษาจากสื่อวิดิทัศน์ที่นำเสนอในลักษณะกรณีศึกษาหรือการยกตัวอย่างประกอบ โดยเรียนในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ในช่วงนอกเวลาทำงาน 2) เจ้าหน้าที่เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมส่งเสริมการเกษตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งด้านการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยเฉพาะการรับรองผลการเรียนในลักษณะประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร 3) เจ้าหน้าที่เห็นว่าแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากในทุกประเด็น ซึ่งด้านระบบบริหารการเรียนมีความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะการจัดระบบการเรียนควรใช้งานง่ายและรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย รองลงมาคือด้านการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาบทเรียนที่ควรนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ด้านการวัดและประเมินผลให้ความสำคัญกับการได้รับการรับรองผลการเรียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ที่รวดเร็วและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน ตามลำดับ 4) เจ้าหน้าที่พบปัญหาด้านการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนมากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อหาที่มากเกินไป ทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มาก ในขณะที่บางวิชามีการนำเสนอเนื้อหาที่น้อยเกินไปและไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจ ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับปัญหาคือควรมีการปรับปรุงหลักสูตร/วิชาให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และตรงกับความต้องการของผู้เรียน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11750 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License