Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11761
Title: | ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์รถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2540-2555 |
Other Titles: | Factors affecting the demand for small family cars in Thailand during 1997-2012 |
Authors: | สมบัติ พันธวิศิษฏ์ สุมาลี วิชชุเดชา, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พิทักษ์ ศรีสุขใส |
Keywords: | รถยนต์นั่งส่วนบุคคล--การจัดซื้อ รถยนต์--ไทย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะความต้องการรถยนต์นั่งขนาดเล็กของผู้บริโภคในประเทศไทย 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์รถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทย และ 3) ความยืดหยุ่นอุปสงค์ของรถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะความต้องการรถยนต์นั่งขนาดเล็กของผู้บริโภคภายหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยต่อเนื่องถึงแม้ราคารถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นใหม่ๆ ที่ออกจำหน่ายจะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นก็ตาม 2) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์รถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ที่ระดับ .05 ได้แก่ ราคาเฉลี่ยรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ราคาน้ำมันเบนซิน และนโยบายคืนเงินรถยนต์คันแรกของรัฐบาล และที่ระดับ .10 ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยมีค่าสัมประสิทธ์แห่งการกำหนดเท่ากับ 0.8347 ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์เป็นทิศทางเดียวกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ราคารถยนต์นั่งขนาดเล็ก และนโยบายคืนเงินรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ในขณะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับราคาน้ำมันเบนซิน และอัตราคอกเบี้ยเงินกู้ 3) ความยืดหยุ่นของปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์รถยนต์นั่งขนาดเล็กต่อรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ราคาเฉลี่ยรถยนต์นั่งขนาดเล็ก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และราคาน้ำมันเบนซิน เท่ากับ 3.5407 0.7822 -0.348 และ -1.3194 ตามลำดับ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11761 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142734.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License