กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11767
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยกำหนดอุปสงค์รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors determining the demand for agricultural tractors of farmers in Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ พันธวิศิษฏ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรฆย์คณา แย้มนวล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริมา พิลาฤทธิ์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: แทรกเตอร์--การจัดซื้อ
เครื่องจักรกลการเกษตร--การจัดซื้อ
การวิเคราะห์การลงทุน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรในจังหวัดเลย (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดเลย (3) ความคุ้มค่าในการลงทุนซื้อรถแทรกเตอร์การเกษตรในปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2555 ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มของเกษตรกรที่ตัดสินใจซื้อรถแทรกเตอร์ มีจำนวน 140 คน อายุโดยเฉลี่ย 40.03 ปี เป็นเกษตรกรชาวนา 46 คน ชาวสวน 24 คน และชาวไร่ 70 คน มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 51.51 ไร่ เมื่อสำรวจความคิดเห็นพบว่าความเชื่อด้านความคุ้มค่า การส่งเสริมการขายมีผลต่อระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านผลิตภัณฑ์หรือตัวสินค้า และช่องทางการจัดจำหน่ายมีผลต่อระดับการตัดสินใจในระดับมาก และกลุ่มของเกษตรกรที่ยังไม่ตัดสินใจซื้อรถแทรกเตอร์ มีจำนวน 160 คน มีอายุโดยเฉลี่ย 37.29 ปี เป็นเกษตรกรชาวนา 48 คน ชาวสวน 61 คน และชาวไร่ 51 คน มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 38.46 ไร่ เมื่อสำรวจความคิดเห็นพบว่าด้านผลิตภัณฑ์หรือตัวสินค้า และช่องทางการจัดจำหน่ายมีผลต่อระดับการตัดสินใจในระดับมากที่สุด ส่วนความเชื่อด้านความคุ้มค่า และการส่งเสริมการขายมีผลต่อระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถแทรกเตอร์ของเกษตรกร คือ ปัจจัยทางสังคม ประเภทเกษตรกรรมผลตอบแทนต่อปี ความเชื่อในความคุ้มค่า ผลิตภัณฑ์หรือตัวสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าสำประสิทธิ์การตัดสินใจที่ปรับแล้วร้อยละ 86.1 และ 3) จากกรณีศึกษาการลงทุนซื้อรถแทรกเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน พบว่า หลังจากซื้อรถแทรกเตอร์เกษตรกรชาวนา ชาวสวน และชาวไร่มีผลตอบแทนจากผลผลิตทางการเกษตรสูงกว่าก่อนซื้อรถแทรกเตอร์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11767
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148013.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons