Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11787
Title: มาตรการทางอาญาในการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีในการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง
Other Titles: Criminal measures in consumer protection : a case study of an over-exaggerated advertisement of health products
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
ณฐพรรณ เพ็ชร์เรือทอง, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ--โฆษณา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีในการคุ้มครองผู้บริโภค หลักทั่วไป ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการควบคุมกำกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและข้อบกพร่องของกฎหมายและมาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อศึกษามาตรการในการควบคุมกำกับ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของภาครัฐและเอกชน เพื่อค้นคว้าหาแนวทางที่เหมาะสมมาปรับปรุง และเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้เกิดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมกำกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคการ การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางนิติศาสตร์จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาสินค้าหรือบริการของตนเพื่อให้สู้กับคู่แข่งได้อันส่งผลให้การโฆษณา เข้ามามีบทบาทหลักในการดำเนินธุรกิจเพื่อนำเสนอข้อมูลไปยังผู้บริโภค แต่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ ไม่คำนึงว่าตนต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ของกฎหมาย จึงมีการโฆษณาสินค้าหรือบริการโดยหลอกลวง หรือโดยมีข้อความอันเป็นเท็จ และ ประชาชนผู้บริโภคย่อมได้รับความเสียหาย รวมถึงตัวบทกฎหมายซึ่งมี อัตราโทษน้อยเกินไป ทำให้ผู้ประกอบทำการโฆษณาโดยไม่เกรงกลัวโดยจากที่ได้ศึกษาระบบและมาตรการ ในการควบคุมการโฆษณาในต่างประเทศนั้นจะมีลงโทษอันรุนแรง เช่นการออกคำสังห้ามใช้ข้อความในการ โฆษณา รวมทั้งมีการชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภค ในประเทศไทยจึงควรมีการกำหนดบทลงโทษให้มีควรมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเพิ่มอัตราโทษให้หนักขึ้น หากผู้ประกอบการที่กระทำความผิดซ้ำซ้อน ต้องกำหนด ให้มีอัตราโทษจำคุก และปรับในอัตราอย่างสูง ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในส่วนภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ให้เข้ามามีบทบาทในการควบคุมการโฆษณา รวมทั้งควรมีการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นหน่วยงานอิสระจากหน่วยงานรัฐ แต่ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการ ด าเนินงานแต่ละปี เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11787
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156061.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons