Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11788
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุนิสา ลักษณะชู, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-03-29T02:37:48Z-
dc.date.available2024-03-29T02:37:48Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11788-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของการยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ศึกษาสภาพบังคับใช้กฎหมายในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการ บังคับใช้กฎหมายในการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแท้จริง เนื่องจากข้อจำกัดและช่องว่างของกฎหมาย ที่กำหนดให้ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งระเบียบและหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงไม่แสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินที่ได้มาในระหว่างดำรงตำแหน่ง การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินโดยแสดงเอกสารประกอบ เฉพาะ ณ วันที่มีหน้าที่ยื่นบัญชี ทำให้เกิดการตบแต่งบัญชีก่อนนำมายื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ผู้ศึกษา จึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของภรรยาที่อยู่กินกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส หรือ จดทะเบียนหย่าก่อนเข้ารับตำแหน่งหรือหลังเข้ารับตำแหน่ง กำหนดให้แสดงเอกสารประกอบบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และกำหนดให้การ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ถือเป็นเงื่อนไขแห่งความสมบูรณ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อป้องกันการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการยื่นบัญชีและการตรวจสอบบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบได้จริงตรงตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--ไทย--การป้องกันth_TH
dc.subjectนักการเมือง--การแสดงทรัพย์สินth_TH
dc.subjectข้าราชการ--การแสดงทรัพย์สินth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : ศึกษากรณีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินth_TH
dc.title.alternativeProblems regarding the enforcement of the organic law on counter corruption : a study of assets and liabilities inspectionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the independent study is to study about the concept, theories and background of the declaration of assets and liabilities belong to the political appointees, high-level politicians and officials, the enforcement of the law concerning the declaration of assets and liabilities including the problems and the difficulties arising from the enforcement of the law concerning the declaration of assets and liabilities in order to seek for the guidelines for the effective enforcement of the law relevant to the assets and liabilities inspection. This independent study is the qualitative research by means of the documentary research and goes through the research from textbooks or the academic documents, the articles, the research documents relating to the concept, theories, laws including the problems rendered the ineffectiveness of the enforcement of law concerning the inspection of the accounts showing the assets and liabilities and the troubles from the actual inability of the inspection. The results of the research are that the enforcement of the laws relating to the inspection of the accounts showing the assets and liabilities is not effective as expected and could not be actually inspected because of the limitation and the gaps of the law which are required to show the assets and liabilities list rendered the avoidance in showing such lists acquiring during the position occupying time. The submission of the accounts showing the assets and liabilities by presenting the adjunct documents only at the time of the account submission which made the window dressing before submitting to the National Counter Corruption Commission. The delayed submission of the lists as well as the documents which is not in line with the laws and the lack of the understandings of the submission of the assets and liabilities list as well as the documents are also the problems. The researcher suggests solving the problems by revising the Organic Law on Counter Corruption B.E. 2542 as amended to empower the National Counter Corruption Commission to inspect the accounts showing the assets and liabilities belong to de facto spouse or the divorced spouse before holding the position or after holding the position, to prescribe that the adjunct document of the assets and liabilities must be shown during the time of position, and to stipulate that the submitting of the accounts shall be the condition for validity of the election candidate in order to prevent the delayed submission which is not in line with the laws, and to publicize information relating to the submission of the accounts showing the assets and liabilities so that the enforcement of the related law and the inspection thereof is more effective and could be actual inspected in accordance with the spirit of the Constitutionen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156063.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons