กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11795
ชื่อเรื่อง: การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Provisional release of the accused or the defendant in criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถํ้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุริยา กัญญะคำ, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การปล่อยชั่วครา
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวในคดีอาญา และศึกษาสภาพปัญหา ทางกฎหมาย สภาพปัญหาทางข้อเท็จจริง กรณีที่ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา เพื่อให้ทราบถึงอุปสรรคการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งศาล หาแนวทาง การแก้ไขปัญหาภายหลัง ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการขออนุญาตปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว ในคดีอาญา เพื่อการบังคับ ใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การที่ศาลมีคำสั่งในกรณีมีการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา กรณีอนุญาตให้มีการประกันตัวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด แม้เป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาทางอาญาให้เป็นไปตามหลักสิทธิและเสรีภาพทางร่างกาย การเคลื่อนไหว และสิทธิ ในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยตัว ชั่วคราวแล้วหลบหนีไม่มาศาลตามกำหนดนัด อันกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาของไทย โดยทั้งนี้ศาลต้องคำนึงถึงพฤติการณ์ การยุ่งเหยิงพยานหลักฐานในคดี บุคลิกลักษณะ อุปนิสัย ของผู้ต้องหาหรือจำเลย และองค์ประกอบอื่นๆ ประกอบการพิจารณา มีคำสั่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11795
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156171.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons