กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11824
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามมาตรการพิเศษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Witness protection for criminal case under special protection measures
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต, อาจารย์ที่ปรึกษา
อาวีณา ใจเพชร, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: พยานบุคคล--การคุ้มครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา (2) ศึกษาการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ ต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา มลรัฐควีนแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย และแคนาดา และประเทศไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามมาตรการพิเศษ (4) ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพศัวยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากตำราและคำอธิบายต่าง ๆ และรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความเอกสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ตลอดจนเอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบออนไลน์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดสำคัญในการคุ้มครองพยานคือแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยรัฐมีภารกิจต้องคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม โดยเฉพาะพยานถือเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญ ที่เข้ามาร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อปราบปรามอาชญากรรมในสังคม (2) กฎหมายสหรัฐอเมริกา กฎหมายมลรัฐควีนแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย และกฎหมายแคนาดา มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบุคคลที่สมควรได้รับการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ กำหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของพยานที่อยู่ในโครงการคุ้มครองพยาน และกำหนดห้ามมิให้พยานกระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาไว้ในข้อตกลงที่พยานต้องปฏิบัติเมื่อเข้าสู่การคุ้มครองพยาน (3) กฎหมายไทยยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินบุคคลที่สมควรได้รับการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ ยังไม่ได้กำหนดข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูลของพยานที่อยู่ในความคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษและยังไม่มีการกำหนดห้ามมิให้พยานกระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาไว้ในข้อตกลงของพยานที่ต้องปฏิบัติเมื่อเข้าสู่โครงการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ (1) สมควรมีการบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินบุคคลที่สมควรได้รับการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 เช่น ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลทางการแพทย์ด้านจิตเวช ความร้ายแรงของความผิดที่บุคคลนั้นกำลังช่วยเหลือในการสอบสวนคดี วิธีการอื่นใดที่นำมาใช้คุ้มครองโดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน ลักษณะของภัยคุกคามที่มีต่อบุคคลนั้น และประวัติการคุ้มครองและพฤติการณ์ที่ผู้นั้นอาจกระทำแล้วส่งผลทำให้การคุ้มครองสิ้นสุดลง บัญญัติข้อยกเว้นให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเปิดเผยข้อมูลของพยานได้ หากมีข้อสงสัยว่ามีการกระทำความผิดโดยบุคคลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ และการเปิดเผยต้องกระทำโดยคำสั่งศาล โดยเปิดเผยได้เท่าที่จำเป็นต่อการสืบสวนคดีและมิให้กระทบกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมที่ผู้นั้นได้รับการคุ้มครองตามมาตรการพิเศษ และสมควรเพิ่มการห้ามมิให้พยานกระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ไว้ในข้อตกลงที่พยานต้องปฏิบัติเมื่อเข้าสู่โครงการคุ้มครองพยาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168796.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons