Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11838
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเบญจวรรณ เมืองใจ, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2024-04-03T07:22:46Z-
dc.date.available2024-04-03T07:22:46Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11838-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการและเนื้อหาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 2) วิเคราะห์ปัญหาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 42 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหัวหน้าส่วนในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 5 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานแผนงานและโครงการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) กระบวนการและเนื้อหาการวางแผน มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในภายนอก ของหน่วยงาน โดยใช้เครื่องมือสวอทและข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 2) การวางแผนด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์ และแผนที่ทางยุทธศาสตร์ (2) ปัญหาการวางแผนที่พบ ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงาน 2) กระบวนการดำเนินงานไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้จัดทำแผนแต่ละจังหวัด 3) ผู้บริหารบางส่วนไม่เห็นความสำคัญในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชัยนาท 4) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 5) หน่วยงานเปลี่ยนผู้จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์บ่อย ผู้เข้าประชุมไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งไม่มีการถ่ายทอดต่อกัน (3) แนวทางการพัฒนาการวางแผนพัฒนาที่สำคัญได้แก่ 1) บุคลากรควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อให้ได้ข้อมูลจากข้อเท็จจริง 2)ผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วม และให้การสนับสนุนการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรกำหนดตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบหลักต่อตัวชี้วัด ควรกำหนดให้มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผนโดยตรงในทุกกรมที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท ควรจัดอบรมการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาททุกปีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการวางแผนเชิงกลยุทธ์th_TH
dc.subjectการพัฒนาการเกษตร--ไทย--ชัยนาทth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleการพัฒนาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชัยนาทth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of province agricultural and cooperative planning Chainat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169347.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons