กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11838
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชัยนาท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of province agricultural and cooperative planning Chainat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลักษณา ศิริวรรณ เบญจวรรณ เมืองใจ, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาการเกษตร--ไทย--ชัยนาท การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการและเนื้อหาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 2) วิเคราะห์ปัญหาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 42 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหัวหน้าส่วนในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 5 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานแผนงานและโครงการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) กระบวนการและเนื้อหาการวางแผน มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในภายนอก ของหน่วยงาน โดยใช้เครื่องมือสวอทและข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 2) การวางแผนด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์ และแผนที่ทางยุทธศาสตร์ (2) ปัญหาการวางแผนที่พบ ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงาน 2) กระบวนการดำเนินงานไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้จัดทำแผนแต่ละจังหวัด 3) ผู้บริหารบางส่วนไม่เห็นความสำคัญในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชัยนาท 4) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 5) หน่วยงานเปลี่ยนผู้จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์บ่อย ผู้เข้าประชุมไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งไม่มีการถ่ายทอดต่อกัน (3) แนวทางการพัฒนาการวางแผนพัฒนาที่สำคัญได้แก่ 1) บุคลากรควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อให้ได้ข้อมูลจากข้อเท็จจริง 2)ผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วม และให้การสนับสนุนการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท 3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรกำหนดตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบหลักต่อตัวชี้วัด ควรกำหนดให้มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผนโดยตรงในทุกกรมที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท ควรจัดอบรมการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาททุกปี |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11838 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
169347.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License