Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมชย์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรพีพร ตันประภาส, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-04-11T07:38:55Z-
dc.date.available2024-04-11T07:38:55Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11867-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง (2) ศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีและหลักการของกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ถึงปัญหาและข้อขัดข้องของระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองให้มีความเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ตารำ บทความ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เอกสารทางวิชาการของหน่วยงานราชการ รวมถึงข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าตามแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง เป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองหรือตรวจสอบการใช้อำนาจกระทำการของฝ่ายปกครองซึ่งต้องประกันความเป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อเกิดดุลยภาพประสานประโยชน์ซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีและหลักการของระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในประเทศไทยใช้ระบบการอุทธรณ์แบบบังคับเช่นเดียวกับประเทศเยอรมนี และระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองของประเทศฝรั่งเศสเป็นระบบอุทธรณ์แบบทางเลือก ซึ่งระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีปัญหาและข้อขัดข้องทางกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองที่สั้นเกินไป การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองและการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองแบบบังคับ ซึ่งประชาชนควรได้รับการเยียวยาไว้ก่อนจะเกิดประโยชน์กว่าหลังจากที่ได้มีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ไปแล้วเพราะอาจเกิดความล่าช้าสร้างภาระเกินความจำเป็นที่จะต้องมาดำเนินการแก้ไขความเสียหายในภายหลังอีกครั้งโดยไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักกฎหมายปกครองที่มุ่งประสานประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง โดยกำหนดให้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งทางปกครอง การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองปกครองที่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองควรให้มีผลทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไว้ชั่วคราวเสมอและการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองแบบบังคับควรเปลี่ยนเป็นระบบอุทธรณ์แบบทางเลือก เพื่อมุ่งคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนและเกิดความรวดเร็วกว่าระบบอุทธรณ์แบบบังคับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอุทธรณ์--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายไทยth_TH
dc.title.alternativeProblems of appeal against administrative orders in the Thai legal systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) study concepts, theories and legal principles about the appeals system for administrative orders; (2) study and compare theories and legal principles about appeals in the administrative court systems in Thailand, Germany and France; (3) analyze problems and hindrances in the system for appealing administrative orders in Thailand; (4) recommend approaches for amending laws related to the system for appealing administrative orders to make them more appropriate. This was a qualitative research based on documentary research, involving the study of textbooks, journals, research reports, theses, judgements or court orders, government academic documents, and electronic media from Thailand and other countries. The results of the study showed that the concepts, theories and legal principles about the system for appealing or contesting administrative orders are mainly concerned with determining the legality of the administrative order and investigating to see if its issuance should be considered an abuse of power or not, with the ultimate aim of insuring justice and protecting the rights and liberties of the people, and making sure there is an effective and mutually beneficial balance of power. (2) The system of appealing or contesting an administrative order in Thailand is an enforceable system, the same as in Germany, while in France it is an alternative system. (3) The system of appealing or contesting an administrative order used in Thailand has some problems and legal hindrances involved with the short time limit in which one is allowed to submit an appeal. In the case of remediation after an administrative order and internal appeal, the people who sustained damage should be compensated first rather than waiting until after the administrative order has been officially revoked. Otherwise, it may cause an unnecessary burden, which would then require even more compensation for damages later. This goes against the intent of administrative law, which aims to coordinate actions and measures for the greatest public good and protect the rights and liberties of the people. (4) The author suggests amending the law to set a more appropriate time limit for submitting an appeal against administrative orders at 30 days from the date of receiving notification that the order was issued. For remediation, if the administrative order had the effect of increasing the burden of the affected party, then when an appeal is launched, the administrative order should be temporarily suspended at once. Also, the system of enforceable appeals should be replaced with a system of alternative appeals to better protect the rights and liberties of the citizens and for greater speed in the appeals processen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons