Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11870
Title: | การรับรู้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์และคุณภาพการบริการของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในจังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Perception of product image and service qauality of consumers of 7-Eleven convenience store in Suphanburi Province |
Authors: | สุรีย์ เข็มทอง บารมี บัวสมบูรณ์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | บริการลูกค้า ผลิตภัณฑ์ การรับรู้ การรับรู้. ร้านค้าสะดวกซื้อ--ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในจังหวัดสุพรรณบุรี (2) การรับรู้คุณภาพการบริการของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในจังหวัดสุพรรณบุรี (3) เปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค (4) เปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพการบริการร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ผลการศึกษา พบว่า (1) การรับรู้ต่อภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ 7-11ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และพิจารณาตามผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์ของใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม อยู่ในระดับมาก (2) การรับรู้คุณภาพการบริการของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายมิติ พบว่าผู้บริโภคมีการรับรู้คุณภาพบริการเกี่ยวกับมิติการตอบสนองต่อผู้บริโภค มิติการรู้จักและเข้าใจผู้บริโภคและมิติการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค อยู่ในระดับมากที่สุด (3) การเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ พบว่า มีการรับรู้แตกต่างตามอายุของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่มีความแตกต่างด้านการรับรู้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบตามพฤติกรรมของผู้บริโภค (4) การรับรู้คุณภาพการบริการ มีความแตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค ด้านอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และมีความแตกต่างกันตามพฤติกรรมการซื้อ ได้แก่ ความถี่ และค่าใช้จ่ายในการซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11870 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License