Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11883
Title: สภาพปัญหาในการบริหารงานตามนโยบาย บมจ.ธนาคารกรุงไทยของผู้จัดการสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทยในเขตภาคกลางเขตนครหลวงและปริมณฑล
Other Titles: The problems of administration on the Krung Thai Bank policy of the branch managers of Krung Thai Bank in the Central Region, Bangkok and the Circum Ference
Authors: ดรรชนี บุญเหมือนใจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลินดา ตันติวรสิทธิ์, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ธนาคารกรุงไทย--การบริหาร
การจัดการธนาคาร--ไทย
ธนาคารและการธนาคาร--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาในการบริหารงานตามนโยบาย บมจ. ธนาคารกรุงไทย ของผู้จัดการสาขา บมจ. ธนาคารกรุงไทยในเขตภาคกลาง เขตนครหลวงและปริมณฑลประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้จัดการสาขา บมจ. ธนาคารกรุงไทยเฉพาะสาขาที่สังกัดเขตไม่รวมสาขาย่อย ในเขตภาคกลาง เขตนครหลวงและปริมณฑล จำนวน 217 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จชีและมอร์แกนได้ 138 คนทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนของประชากรแต่ละเขต เครื่องมือที่ใช้ไนการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปSPSS for Windows สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ r-test และ F-test (One way ANOVA) และการทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSDผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้จัดการสาขามีปัญหาในการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างสินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้อย่างมีระบบ ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการคำเนินงานด้านการบริหารควบคุมความเสี่ยง และด้านการเพิ่มทักพะและขีดความสามารถของพนักงานโดยรวมในระดับปานกลาง (2) ผู้จัดการสาขาที่มีเพศต่างกันมีปัญหาในการบริหารงานด้านการเพิ่ม ทักษะและขีดความสามารถของพนักงานโคยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความแตกต่าง ผู้จัดการสาขาที่แตกต่างกันในด้านอายุ ระดับการศึกษา และอายุงานในตำแหน่ง มีปัญหาในการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน โคยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้จัดการสาขาที่มีสถานภาพทางการสมรสต่างกัน มีปัญหาการบริหารงานด้านการเพิ่มทักษะและขีดความสามารถของพนักงานโดยรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่ในด้านอื่นๆโคยรวมพบว่า ผู้จัดการสาขาที่มีสถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกันมีปัญหาแตกต่างจากผู้จัดการสาขาที่เป็น โสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11883
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82458.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons