กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1189
ชื่อเรื่อง: | การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ บรู : กรณีศึกษา ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Social and cultural change of the Bru ethnic group : a case study of Kok Tum Sub-district, Dong Luang District, Mukdahan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิตรา วีรบุรีนนท์ สุดจิต เจนนพกาญจน์ พุฒิภัณฑ์ พูลลาภ, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ไพฑูรย์ มีกุศล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ กลุ่มชาติพันธุ์--ไทย--มุกดาหาร การเปลี่ยนแปลงทางสังคม--ไทย--มุกดาหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ บรู ในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ บรู ในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร (3) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บรู ในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร (4) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์บรู ในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการ 2 ราย ผู้นำชุมชน 11 ราย ชาวบ้าน 3 ราย และอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย 1 ราย รวม 17 ราย โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า (1) คำว่า “ บรู ” แปลว่า ภูเขา คนไทยและลาวจะเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ บรู ว่า “ข่า ” หรือ “ข้า ” หมายความว่า คนใช้ หรือข้าทาส ประวัติความเป็นมาของชาติพันธุ์ บรู เดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แขวงสะหวันเขต แขวงสาละวัน และแชวงอัตตะปือ ส่วนประวัติความเป็นมาของ บรู ที่จังหวัดมุกดาหาร พบว่า อพยพมาอยู่ในท้องที่จังหวัดมุกดาหารในสมัยรัชกาลที่ 3 กลุ่มชาติพันธุ์ บรู อยู่ในชาติพันธุ์เดียวกันกับขอมหรือเขมร ภาษาบรูเป็นภาษาในตระกูล ออสโตรเอเชียติค มีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ บรู ในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง พบว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านครอบครัว ชุมชน สหจร และชนชั้น (3) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ บรู ในตำบลกกตูม อำเภอ ดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านศาสนา การบริโภค ภาษา การนันทนาการ การศึกษา สาธารณสุข การสื่อสารคมนาคม (4) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ บรู ในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายในหรือปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความกดดันจากการถูกดูถูก การปรับตัวจากการพัฒนาในด้านต่าง ๆ และปัจจัยภายนอก เช่นความขัดแย้งทางการเมือง การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นโยบายการพัฒนาของรัฐบาล โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาในด้านต่าง ๆ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1189 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (3).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 32.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License