Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11919
Title: | แนวทางการบังคับใช้มาตรการลงโทษระดับกลางของประเทศไทย |
Other Titles: | Guidelines for the enforcement of intermediate punishment in Thailand |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต เจษฎา พุ่มจันทร์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณวิภา เมืองถ้ำ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ การลงโทษ--ไทย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการลงโทษระดับกลาง 2) ศึกษาการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการลงโทษระดับกลางของประเทศไทยและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาการบังคับใช้มาตรการลงโทษระดับกลางในต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศสเพื่อปรับใช้กับประเทศไทย 4) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้มาตรการลงโทษระดับกลางของประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยจากเอกสาร อาทิ กฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย สถิติ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับแนวทางการบังคับใช้มาตรการลงโทษระดับกลางเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาเป็นแนวทางในการเสนอแนะการบังคับใช้มาตรการลงโทษระดับกลางกับประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการลงโทษระดับกลาง ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีการลงโทษทางอาญา ทฤษฎีและวัตถุประสงค์ของการลงโทษ กล่าวคือ ทฤษฎีการลงโทษทางอาญา มุ่งลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน ข่มขู่ยับยั้ง ตัดโอกาส และแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ซึ่งการลงโทษอาจมีลักษณะผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม มาตรการลงโทษระดับกลางจึงเป็นทางเลือกในการลงโทษที่พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้โอกาสผู้กระทำผิดอยู่ในสังคมภายใต้เงื่อนไขตามกฎหมาย 2) การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการลงโทษระดับกลางของประเทศไทยมีบทบัญญัติที่สามารถใช้มาตรการทางเลือกที่หลากหลาย เช่น การคุมความประพฤติ การทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว การใช้บ้านกึ่งวิถี 3) มาตรการลงโทษระดับกลางในสหรัฐอเมริกาศาลใช้มาตรการทั้งแบบควบคู่กันและมาตรการเดี่ยว เช่น การควบคุมตัวผู้กระทำผิดด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว สหราชอาณาจักรเน้นการแก้ไขฟื้นฟูด้วยการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในมาตรการลงโทษระดับกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดจากการลงโทษจาคุกระยะสั้น และศาลสามารถกำหนดให้ใช้มาตรการต่าง ๆ รวมกัน หากฝ่าฝืนอาจถูกยกเลิกมาตรการและถูกส่งเข้าเรือนจำหรือถูกเพิ่มโทษ ญี่ปุ่นมาตรการลงโทษระดับกลางเป็นการแก้ไขฟื้นฟูในชุมชน เน้นให้อาสาสมัครคุมประพฤติมีบทบาทช่วยเหลือ และใช้ระบบทัณฑ์บนที่เป็นขั้นตอนการบริหารโทษที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิพากษาคดี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสเน้นหลักการบังคับโทษให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งความผิดและปัจจัยรายบุคคล รวมทั้งมีการพักการลงโทษแบบมีเงื่อนไข 4) ข้อเสนอแนะของงานวิจัยคือ เสนอให้แก้ไขกฎหมายให้มาตรการลงโทษระดับกลางเป็นโทษทางอาญาแบบมาตรการผสมผสาน โดยกำหนดบทบาทของเจ้าพนักงานให้ชัดเจนและนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11919 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License