กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11929
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an information system for research management at the Research and Development Institute, Suratthani Rajabhat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์
วรพล เจนวิไลศิลป์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทนงศักดิ์ ศิริรัตน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ--วิจัย
วิจัย--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ใช้งานระบบจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้ประสานงานวิจัยระดับคณะ ระบบครอบคลุมการทำงาน 4 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบนำเข้าข้อมูล ระบบประมวลผลข้อมูล ระบบแสดงผลลัพธ์ และระบบรักษาความปลอดภัยวิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ เริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการทำงานของระบบงานเดิมและการเก็บรวบรวมความต้องการของผู้ใช้งาน การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ การทดสอบและการติดตั้งระบบจากนั้นทำการประเมินระบบ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ ได้แก่ โปรแกรมแซมป์ โปรแกรมวิชวลสตูดิโอโคด โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ และภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม ได้แก่ เอชทีเอ็มแอล 5 และพีเอชพี 7 ซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 Home การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ เลือกใช้เครื่องมือบูตสแตรปและเทมเพลตสำเร็จรูปช่วยในการออกแบบหน้าจอการทำงาน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ประเมินระบบ คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศฯ จากผู้ใช้งานระบบจำนวน 12 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมาสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและสามารถนำไปใช้งานได้จริงถูกต้องตามกระบวนการบริหารงานวิจัย ส่วนการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ ด้านการประมวลผล ด้านการแสดงผลลัพธ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ด้านส่วนประสานงานกับผู้ใช้ และด้านภาพรวมของระบบ ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจทุกด้านในระดับดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11929
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons