กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11931
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of management program to control hypertension among stroke patients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา กระจ่างแก้ว, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
ความดันเลือดสูง--การป้องกัน
โรคหลอดเลือดสมอง--การป้องกัน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ระดับความรู้ ความเครียด พฤติกรรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูง และ 2) ระดับความดันโลหิตก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสาเหตุจากภาวะความดันโลหิตสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 14 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินมีทั้งหมด 4 ชุด โดยผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นเอง 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย สำหรับแบบวัดระดับความเครียดได้นำมาจาก แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต ; SPST-20 (2550) และเครื่องมือในการดำเนินการ คือ โปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูง มี 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) การประเมินความรู้ ระดับความเครียด และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่านแอพพลิเคชันไลน์ (QR Code) ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม (2) การให้ความรู้และคำปรึกษาในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลในขณะที่อยู่โรงพยาบาล และแนะนำการใช้แอพพลิเคชันไลน์แก่ผู้ป่วยและญาติ และ (3) ติดตามระดับความดันโลหิตสัปดาห์ละครั้ง จำนวน 4 ครั้ง และเมื่อเข้าโปรแกรมครบ 4 สัปดาห์แล้ว ให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลตอบแบบประเมินทั้ง 4 ชุดส่งกลับมาให้ผู้วิจัยทางแอพพลิเคชันไลน์ แบบสอบถามทั้ง 3 ชุด และโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0, 0.85, 0.97 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราาน และสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้และระดับความเครียดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน สำหรับพฤติกรรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงก่อนและหลังเข้าโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความดันโลหิตก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11931
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons