Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11932
Title: นวัตกรรมการคัดกรองภาวะตัวเหลืองจากสีผิวของทารกแรกเกิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Other Titles: The innovation of skin Color Screening for Neonatal Jaundice : a case study at Banmi Hospital Lopburi
Authors: พัทยา แก้วสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสาวนีย์ หนุนนาค, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
การสำแดงอาการทางผิวหนัง
การตรวจคัดโรค--นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมการคัดกรองภาวะตัวเหลืองจากสีผิวของทารกแรกเกิด 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลการคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิด ระหว่างกล่องคัดกรองสีผิวที่พัฒนาขึ้นในบรรยากาศห้อง และค่าระดับบิลิรูบินในซีรัม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้นวัตกรรมการคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทารกแรกเกิดครบกำหนดอายุภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิด 42 คน และ 2) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 8 คน เครื่องมือวิจัยคือ กล่องคัดกรองสีผิวและคู่มือการใช้งาน แบบบันทึกการคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิด แบ่งเป็น 4 โซนตามแนวคิดของวารูเกเซ แบบบันทึกความสอดคล้องของการคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิด ระหว่างกล่องคัดกรองสีผิว บรรยากาศห้อง และค่าระดับบิลลิรูบินในซีรัม และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้นวัตกรรมการคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมกล่องคัดกรองสีผิวประกอบด้วย ส่วนที่ 1 กล่องครอบตัวทารก ทำจากฟิวเจอร์บอร์ดสีดำและบุผนังภายในด้วยผ้าสีดา ผนังด้านซ้ายเปิดเพื่อการสังเกตุสีผิว ด้านบนเจาะช่องเพื่อวางโคมไฟ และเบาะรองทารกปูด้วยผ้าขาว ส่วนที่ 2 โคมไฟส่องสีผิว หลอดแอลอีดีแสงสีขาวขนาด 3 วัตต์ 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่า (1) การคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิด ที่โซน 1 และโซน 4 การสังเกตด้วยกล่องคัดกรองหรือในบรรยากาศห้องสอดคล้องกับค่าระดับบิลลิรูบินในซีรัม เท่ากันคือร้อยละ 100 และ 14.29 ตามลำดับ (2) การคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิดที่โซน 2 การสังเกตด้วยกล่องคัดกรองสอดมีความสอดคล้องกับค่าระดับบิลลิรูบินในซีรัม สูงกว่าที่บรรยากาศห้องคือ ร้อยละ 18.75 และร้อยละ 6.25 ตามลำดับและ (3) การคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิดที่โซน 3 การสังเกตด้วยกล่องคัดกรองมีความสอดคล้องกับค่าระดับบิลลิรูบินในซีรัม ต่ากว่าที่บรรยากาศห้องคือร้อยละ 6.67 และ 13.33 ตามลาดับ และ 3) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมกล่องคัดกรองสีผิวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ชี้ให้เห็นว่าควรศึกษาต่อยอดเพื่อการปรับปรุงนวัตกรรมกล่องคัดกรองสีผิวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในการทดแทนอุปกรณ์การคัดกรองภาวะตัวเหลืองทางสีผิวของทารกแรกเกิดซึ่งมีราคาสูง
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11932
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons