Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุวภัทร โลนุช, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-04-18T06:21:08Z-
dc.date.available2024-04-18T06:21:08Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11933-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์ และ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มที่ศึกษาซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ตอบแบบทดสอบ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์ ทั้งหมดจำนวน 18 คน และ 2) กลุ่มที่ร่วมสนทนากลุ่ม เป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ซึ่งผ่านการหาความตรงตามเนื้อหาตั้งแต่ 0.80 -1.00 และความเที่ยงของแบบทดสอบฯ เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกรายด้านและจำแนกตามโจทย์สถานการณ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน จากการสนทนากลุ่มพบว่า สมรรถนะการจัดการความขัดแย้งจำแนกตามกระบวนการจัดการความขัดแย้ง มีดังนี้ (1) วินิจฉัยความขัดแย้งโดยวิเคราะห์หาสาเหตุของความขัดแย้งได้ 7 ประการ ได้แก่ การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ภาระงานที่ไม่ใช่หน้าที่พยาบาลมากเกินไป การแข่งขันในงานและแย่งชิงทรัพยากร สัมพันธภาพระหว่างบุคคลไม่ดี การพิจารณาความดีความชอบไม่เป็นธรรม ความแตกต่างเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล และการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (2) นิยามปัญหาความขัดแย้งโดยระบุประเภทของความขัดแย้งเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม และความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (3) พิจารณาผลของความขัดแย้ง โดยระบุผลกระทบจากความขัดแย้งได้ทั้งทางบวก 4 ข้อ และทางลบ 3 ข้อ และ 4) กำหนดกลยุทธ์การแก้ไขความขัดแย้ง โดยวิธีการที่ใช้มากที่สุด คือ การหลีกเลี่ยง และวิธีที่ใช้น้อยที่สุด คือ วิธีการยอมตาม และ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านบริบท (2) ปัจจัยด้านทักษะและศักยภาพ และ (3) ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่เน้นการสร้างแรงจูงใจth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการบริหารความขัดแย้งth_TH
dc.titleการศึกษาสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์th_TH
dc.title.alternativeThe study of conflict management competencies of professional nurses, a community hospital, Surin Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research is a mixed method research. The objectives of this study were 1) to study conflict management competency of professional nurses. a community hospital and 2) to study the guidelines for the development of conflict management competency of professional nurses a community hospital Surin The sample group was divided into 2 groups as follows: 1) the group who answered the test there were 18 professional nurses working in the hospital and 2) the group that participated in the group discussion. There were 9 registered nurses. There were 2 types of research instruments: the Conflict Management Competency Test of Registered Nurses; and group discussion guidelines which passed the content validity from 0.80 -1.00 and the reliability of the test was 0.89. Data were analyzed by descriptive statistics and content analysis. The results of the research were as follows: 1) the overall conflict management competency of professional nurses was at a moderate level. Classified by aspects and classified by problem situations, most of them were at moderate level as well. From the group discussion, it was found that Conflict management competencies are classified according to conflict management processes as follows: (1) Conflict diagnosis by analyzing 7 causes of conflict: ineffective communication; Too many non-nurse tasks resource, Competition and competition at the event, Relationships unfair consideration of merit, Differences in personal attributes and Non-compliance with professional standards. (2) Definition of conflict problems by specifying types of conflicts in descending order as follows: interpersonal conflicts; conflict between groups and internal conflicts; (3) consider the consequences of conflicts by identifying 4 positive and 3 negative effects of conflict; and 4) formulate conflict resolution strategies. The most commonly used method is avoidance. and the least used method was the consent method and 2) the guidelines for the development of conflict management competency of professional nurses consisted of 3 factors: (1) context factors (2) Skills and Potential Factors (3) psychological factors that emphasized motivateen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons