Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมัลลิกา อินพรหม, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-04-18T06:28:16Z-
dc.date.available2024-04-18T06:28:16Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11934-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บริการผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการในการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย (3) การตัดสินใจและเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย จำแนกตามประเภทธุรกิจ รูปแบบธุรกิจ ทุนจดทะเบียน และระยะเวลาการจัดตั้งธุรกิจ และ (4) อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการให้บริการของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย จำนวน 2,477 ราย คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 370 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยส่วนใหญ่เลือกใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการจัดส่งสินค้า เนื่องจากมีการจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว โดยจะมีการจัดส่งสินค้าสัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 13.01 – 16.30 น. และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 301 – 500 บาท/ครั้ง (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านบุคคล ขณะที่ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ คือ ด้านการรับประกัน/ความมั่นใจ และด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (3) การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูลในระดับมากที่สุด โดยทำการตัดสินใจด้วยเกณฑ์ราคาที่มีความเหมาะสมกับคุณภาพที่ได้รับ และจะยังคงใช้บริการผู้ให้บริการรายเดิมต่อไป การเปรียบเทียบการตัดสินใจจำแนกตามลักษณะทางธุรกิจ พบว่า ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบธุรกิจแตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง โดยยังพบว่าพฤติกรรมการใช้บริการไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์แต่อย่างใด และ (4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ ส่วนปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ได้แก่ ด้านรูปลักษณ์ ด้านการรับประกัน/ความมั่นใจ และด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยมีสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 40.2 และร้อยละ 46.6 ตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการบริหารงานโลจิสติกส์--ไทย (ภาคใต้)th_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the selection of logistics service providers of electronic commerce entrepreneur in the upper southern part of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine (1) the behavior of logistics service providers of electronic commerce entrepreneur in the upper southern part of Thailand; (2) the level of importance of marketing mix factors and service quality factors for choosing a logistics provider of electronic commerce entrepreneur in the upper southern part of Thailand; (3) the decision and comparison deciding on logistics service providers of electronic commerce entrepreneur in the upper southern part of Thailand which classified by type of business, business model, registered capital and period of business establishment; and (4) the influence of marketing mix factors and service quality factors affecting the services of logistics service providers in the upper southern part of Thailand. This study was a survey research. The population was 2,477 electronic commerce entrepreneurs in the upper southern part of Thailand. Stratified random sampling was employed in the sample size calculated by Taro Yamane method was 370 electronic commerce entrepreneur participated in a survey by the questionnaire. The data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way analysis of variance, chi-square test and multiple regression analysis. The results revealed that (1) most of the electronic commerce entrepreneur in the upper southern part of Thailand chose to use the service of Thailand Post Company Limited for delivery of products due to the rapid delivery of products, delivery the products are shipped 1-3 times/week, during 1.01 - 4.30 p.m. and the average expenses are between 301 - 500 baht/time.; (2) The marketing mix factors which electronic commerce entrepreneur gave the most important on the people aspect, while the service quality factors were the assurance and empathy.; (3) Deciding on a logistics provider electronic commerce entrepreneurs are focused on searching for information at the highest level. Decision making based on price criteria that are appropriate for the quality received and will continue to use the same service provider. Comparison of decision making by business characteristic, it was found that electronic commerce entrepreneur with had difference of business models also had difference of decisions to choose logistics providers at the statistical significant level of .05 and the rest did not differ. It was also found that the service usage behavior was not related to the decision to choose a logistics service provider at all.; and (4) Marketing mix factors had affecting on the decision to choose a logistics service provider, such as products, physical evidence and process. As for service quality factors that had affecting on the decision to choose a logistics service provider, tangibles, assurance and empathy at the statistical significant level of .05 with a prediction coefficient of 40.2% and 46.6%, respectivelyen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons