Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11960
Title: ทัศนคติต่อการใช้เครื่องสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการประเมินการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Attitude towards the using of survey pads to evaluate the services of Krung Thai Bank (Public) Company Limited, Mueang District, Chiang Mai Province
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรียา ธรรมชัย, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ธนาคารกรุงไทย--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาความรู้ของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับการใช้เครื่องสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (2) ศึกษาทัศนคติของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกบการใช้เครื่องสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) เปรียบเทียบทัศนคติต่อการใช้เครื่องสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและความรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 249 คน คํานวณขนาดตัวอย่างได้ 154 คนโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ทําการสุ่มตัวอยางแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความ แปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องสํารวจ ความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง (2) ทัศนคติของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับการใช้เครื่องสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบ อิเล็กทรอนิกส์โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความเข้าใจ และด้านความชอบอยูในระดับปานกลางที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระยะเวลาในการทํางาน และความรู้ที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการใช้เครื่องสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันอย่าางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุและตําแหน่งงานไม่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการใช้เครื่องสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11960
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154732.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons