Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11976
Title: | แบบพฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของข้าราชการ สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก |
Other Titles: | Desirable leadership behavior of Officials of Army Non Commissioned Officer School |
Authors: | กิ่งพร ทองใบ วนิดา ทองจันทร์, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | โรงเรียนนายสิบทหารบก--ข้าราชการ--ทัศนคติ ภาวะผู้นำ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแบบพฤติกรรมผู้นำของผู้บังคับบัญชาโรงเรียนนายสิบทหารบกที่เป็นอยู่และที่พึงประสงค์ของข้าราชการในสังกัด (2) เปรียบเทียบแบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นอยู่และที่พึงประสงค์ของข้าราชการ สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะการเสริมสร้างแบบพฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของโรงเรียนนายสิบทหารบกการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ข้าราชการในสังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก จำนวน 451 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้ 212 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการศึกษาพบว่า (1) ข้าราชการสังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก ส่วนใหญ่มีการรับรู้แบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นอยู่ และแบบพฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การบริหารงานแบบ 5,5 แบบทางสายกลาง (2) ข้าราชการในสังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบกที่มีปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน มีการรับรู้แบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นอยู่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นข้าราชการที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้แบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นอยู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้าราชการในสังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบกที่มีปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน มี แบบพฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน และ (3) ข้อเสนอแนะพบว่า ผู้บังคับบัญชาควรให้ความสนใจทั้งเรื่องงานและขวัญกำลังใจของผู้ใต้บังคับบัญชา มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและสามารถทำให้เป็นจริงได้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพยายามทำงานให้บรรลุเป้าหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11976 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158824.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License