Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorถิรดา กุสะรัมย์, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-28T07:03:03Z-
dc.date.available2022-08-28T07:03:03Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1200-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพลักษณะและการจัดการของทรัพยากรชายฝั่งบ้านสลักคอก หมู่ 4 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด (2) ปัญหา ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งบ้านสลักคอก ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด (3) แนวทางในการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งบ้านสลักคอกได้อย่างยั่งยืน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รู้ (ผู้เฒ่า,ผู้แก่) จำนวน 5 คนชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านจำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่ผู้แทนกรมประมง จำนวน 1 คน ชาวประมงในชุมชนจำนวน 14 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน วิธีการดำเนินการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลวิจัยพบว่า (1) สภาพ ลักษณะและการจัดการของทรัพยากรชายฝั่งสภาพในอดีตที่ผ่านมาทรัพยากรสัตว์น้ำค่อนข้างสมบรูณ์ส่วนป่าชายเลนมีการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ การจัดการในอดีตมีการปลูกป่าชายเลนเพิ่มปัจจุบันพันธุ์ไม้มีการเติบโตอย่างเต็มที่และจำนวนปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะปลาดุกทะเลการจัดการในปัจจุบันใช้ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยูในชุมชนดูแลรักษาป่าชายเลน การตั้งชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านสลักคอกเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน ส่วนลักษณะของทรัพยากรชายฝั่งในอดีต รอบนอกที่น้ำท่วมถึงเป็นป่าชายเลนดั้งเดิมโดยที่ไม่ได้มีการบุกรุกหรือทำลาย ปัจจุบันเป็นป่าชายเลนที่ผสมผสานกันระหวางพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและในส่วนของป่าชายเลนที่เกิดขึ้นจากการปลูกซ่อมแซมในส่วนที่เสื่อมโทรมแบ่งตามสภาพพื้นที่และอิทธิพลที่ได้รับจากน้ำขึ้นน้ำลงได้เป็น 3 เขต คือ 1.เขตน้ำขึ้นน้ำลง 2.เขตน้ำขึ้นถึงบางเวลา 3.เขตที่ดอนในป่าชายเลน (2) ปัญหา ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งพบว่ามีปัญหาขยะและ น้ำเสีย โดยมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาจากภาครัฐได้ประกาศนโยบายการพัฒนาให้เกาะช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวจึงทำให้เกิดการลงทุนก่อสร้างการบริการต่างๆ และมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นโดยมีแนวทางในการแกไขปัญหาขยะโดยการจัดตั้งธนาคารขยะให้ชาวบ้านได้รับความรู้ในการจัดการขยะ และมีการใช้จุลินทรีย์บอลแก้ปัญหาน้ำเสีย ส่วนปัญหาระบบนิเวศปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แนวทางในการแก้ไขโดยมีระบบการจัดการที่มีคุณภาพมากขึ้น และปัญหาการตัดไม้ป่าชายเลนปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาจากชาวบ้านได้นำไม้ไปเผาเป็นถ่านขาย แนวทางในการแก้ไขมีการรณรงค์ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและส่งเสริมการปลูกป่าสำหรับปัญหาการบุกรุกพื้นที่โดยมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาการพัฒนาการท่องเที่ยวและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแนวทางในการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือจับพิกัดกำหนดแนวป่ าที่ชัดเจน การป้องกันการบุกรุกและปลูกป่าเพื่อเป็นกันชนและการตั้งชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชน (3) แนวทางการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนพบว่าแนวทางการอนุรักษ์จะเน้นการปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนรุ่นหลังเห็นความสำคัญของทรัพยากรชายฝั่งและร่วมมือกันจัดการป่าชายเลนและมีการปิดอ่าวในช่วงฤดูสัตว์น้ำวางไข่ ส่วนแนวทางการพัฒนาจะมุ่งเน้นพัฒนาคนและการตั้งชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านสลักคอก เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.347-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการจัดการเขตชายฝั่ง--ไทย--ตราดth_TH
dc.titleการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านสลักคอก หมู่ 4 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดth_TH
dc.title.alternativeSustainable management of coastal resources : a case study of Salakkork Village Moo 4, Koh Chang Tai Sub-district, Koh Chang District, Trad Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2012.347-
dc.degree.nameศิลปศาตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the conditions and status of coastal resources management in Salakkork Village, Moo 4, Koh Chang Tai Sub-District, Koh Chang District, Trad Province; (2) to study coastal resource management problems in the study area, the causes of those problems, and ways to solve them; and (3) to form recommendati ons for the sustainable development and conservation of coastal resources in the study area. This was a qualitative research. The 30 key informants consisted of 5 knowledgeable elders, 5 local tour club members,1 Fisheries Department official, 14 local fishermen, 4 com munity leaders, and 1 Tambol Administrative Organization official. Data were collected by documentary research, in-depth interviews, and observation. Data were analyzed by descriptive analysis. The results showed that (1)In the past, the condition of the aquatic animal populations in the area was rather good, and the mangroves grew inconsistently. In the past, the people managed the resources by planting additional mangroves. At present, the plants are fully grown and the populations of aquatic animals are increasing, especially marine catfish. The present management of coastal resources is based on local knowledge and a local tourism club has been set up. In the past, the area that floodwaters reach was all original, undisturbed mangrove forest. Now, it is a mix of natural mangroves and plants that were planted in reforestation efforts. Based on geophysical characteristics and tidal influence, there are 3 types of land: 1. tidal areas; 2. areas that are under water sometimes; and 3. higher ground within the mangrove forest. (2) The major problems with coastal resources management wer e, firstly, rubbish and waste water, caused mainly by the government announcement allowin g tourism development on Koh Chang, which led to construction of tourism facilities and services. The way of solving the problem is to set up a “trash bank” and to teach the local people about waste management, including the use of beneficial microorganisms to treat waste water. The major ecological problem was caused by changes in aquaculture. The approach to solving it is to introduce higher quality aquaculture management systems. As for the problem of mangrove destruction, the cause was people cutting wood to make charcoal. The solution is to campaign to persuade people to stop cutting mangrove trees and to encourage replanting. Lastly, the problem of encroachment on mangroves was caused by tourism and aquaculture development. The proposed solutions are to employ GPS to keep track of the forest area borders, to plant trees as buffer zones, and to enlist the local tourism club to manage the coastal resources. (3) Recommendations for the conservation of coastal resources emphasized raising awareness among younger generations about the importance of conservation, working together to manage the resources, and enforcing a ban on fishing during the egg- laying season . Recommendations for sustainable development emphasized d evelopment of human resources and utilization of the local tourism club to manage the resourceen_US
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (4).pdfเอกสารฉบับเต็ม24.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons