กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1200
ชื่อเรื่อง: การจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านสลักคอก หมู่ 4 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sustainable management of coastal resources : a case study of Salakkork Village Moo 4, Koh Chang Tai Sub-district, Koh Chang District, Trad Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ถิรดา กุสะรัมย์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
การจัดการเขตชายฝั่ง--ไทย--ตราด
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพลักษณะและการจัดการของทรัพยากรชายฝั่งบ้านสลักคอก หมู่ 4 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด (2) ปัญหา ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งบ้านสลักคอก ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด (3) แนวทางในการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งบ้านสลักคอกได้อย่างยั่งยืน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รู้ (ผู้เฒ่า,ผู้แก่) จำนวน 5 คนชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านจำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่ผู้แทนกรมประมง จำนวน 1 คน ชาวประมงในชุมชนจำนวน 14 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน วิธีการดำเนินการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลวิจัยพบว่า (1) สภาพ ลักษณะและการจัดการของทรัพยากรชายฝั่งสภาพในอดีตที่ผ่านมาทรัพยากรสัตว์น้ำค่อนข้างสมบรูณ์ส่วนป่าชายเลนมีการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ การจัดการในอดีตมีการปลูกป่าชายเลนเพิ่มปัจจุบันพันธุ์ไม้มีการเติบโตอย่างเต็มที่และจำนวนปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะปลาดุกทะเลการจัดการในปัจจุบันใช้ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยูในชุมชนดูแลรักษาป่าชายเลน การตั้งชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านสลักคอกเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน ส่วนลักษณะของทรัพยากรชายฝั่งในอดีต รอบนอกที่น้ำท่วมถึงเป็นป่าชายเลนดั้งเดิมโดยที่ไม่ได้มีการบุกรุกหรือทำลาย ปัจจุบันเป็นป่าชายเลนที่ผสมผสานกันระหวางพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและในส่วนของป่าชายเลนที่เกิดขึ้นจากการปลูกซ่อมแซมในส่วนที่เสื่อมโทรมแบ่งตามสภาพพื้นที่และอิทธิพลที่ได้รับจากน้ำขึ้นน้ำลงได้เป็น 3 เขต คือ 1.เขตน้ำขึ้นน้ำลง 2.เขตน้ำขึ้นถึงบางเวลา 3.เขตที่ดอนในป่าชายเลน (2) ปัญหา ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งพบว่ามีปัญหาขยะและ น้ำเสีย โดยมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาจากภาครัฐได้ประกาศนโยบายการพัฒนาให้เกาะช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวจึงทำให้เกิดการลงทุนก่อสร้างการบริการต่างๆ และมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นโดยมีแนวทางในการแกไขปัญหาขยะโดยการจัดตั้งธนาคารขยะให้ชาวบ้านได้รับความรู้ในการจัดการขยะ และมีการใช้จุลินทรีย์บอลแก้ปัญหาน้ำเสีย ส่วนปัญหาระบบนิเวศปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แนวทางในการแก้ไขโดยมีระบบการจัดการที่มีคุณภาพมากขึ้น และปัญหาการตัดไม้ป่าชายเลนปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาจากชาวบ้านได้นำไม้ไปเผาเป็นถ่านขาย แนวทางในการแก้ไขมีการรณรงค์ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและส่งเสริมการปลูกป่าสำหรับปัญหาการบุกรุกพื้นที่โดยมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาการพัฒนาการท่องเที่ยวและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแนวทางในการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือจับพิกัดกำหนดแนวป่ าที่ชัดเจน การป้องกันการบุกรุกและปลูกป่าเพื่อเป็นกันชนและการตั้งชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชน (3) แนวทางการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนพบว่าแนวทางการอนุรักษ์จะเน้นการปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนรุ่นหลังเห็นความสำคัญของทรัพยากรชายฝั่งและร่วมมือกันจัดการป่าชายเลนและมีการปิดอ่าวในช่วงฤดูสัตว์น้ำวางไข่ ส่วนแนวทางการพัฒนาจะมุ่งเน้นพัฒนาคนและการตั้งชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านสลักคอก เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1200
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (4).pdfเอกสารฉบับเต็ม24.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons