Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12014
Title: แนวทางการพัฒนารายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย F.M. 92.50 MHz
Other Titles: Guidelines for the program development process of radiro Thailand F.M. 92.50 MHz
Authors: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิคม แก้วทันคำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วิทยุกระจายเสียง
วิทยุกระจายเสียง--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย F.M.92.50 MHz 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการและนักวิชาชีพ เกี่ยวกับรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย F.M. 92.50 MHz และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนารายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง ประเทศไทย F.M. 92.50 MHz การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง ประเทศไทย F.M. 92.50 MHz พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักวิชาการ 3 คน นักวิชาชีพ 3 คน รวม 6 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ผังรายการ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย F.M. 92.50 MHz ออกอากาศทุกวันๆ ละ 19 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. มีการจัดรายการและผลิตรายการจำนวน 66 รายการ แบ่งเป็นรายการ 3 ประเภทคือ ข่าว ข่าวสาร ร้อยละ 39.39 ความรู้ ร้อยละ 53.03 บันเทิง ร้อยละ 7.58 แบ่งเป็นการนำเสนอใน รูปแบบรายการข่าว ร้อยละ 24.24 พูดคุยกับผู้ฟัง ร้อยละ 50.00 สัมภาษณ์ ร้อยละ 12.12 นิตยสารทางอากาศ ร้อยละ 6.06 รายการเพลง ร้อยละ 7.58 มีการนำเสนอเนื้อหารายการในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ร้อยละ 39.39 สังคม ร้อยละ 6.06 เศรษฐกิจ ร้อยละ 9.09 กฎหมาย ร้อยละ 1.51 ศาสนา/ปรัชญา /ศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 22.73 วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 13.64 บันเทิง ร้อยละ 7.58 2) นักวิชาการและนักวิชาชีพมี ความเห็นว่า ในภาพรวมสถานีมีการจัดรายการที่ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล กรมประชาสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี มีการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ ธำรงภาพลักษณ์ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ดำเนินการตามบทบาท หน้าที่ของสื่อมวลชน ผังรายการครอบคลุมประเภท รูปแบบและเนื้อหารายการ เป็นแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงได้ แต่ ควรปรับปรุงการจัดรายการให้ดึงดูดกลุ่มผู้ฟังกลุ่มใหม่ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ควรสร้างผู้ดำเนินรายการใหม่เพื่อดึงดูด ผู้ฟัง การดำเนินรายการควรมีลีลาการพูดที่เป็นกันเองมากขึ้น เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ รายการ สถานีต้องกำหนดทิศทางด้านรายการให้ชัดเจน นำผลการวิจัยมาปรับปรุงการจัดรายการของสถานี รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์รายการของสถานีทางสื่อต่างๆมากขึ้น 3) แนวทางการพัฒนารายการของสถานี ควรมี การกำหนดเป้าหมายและทิศทางของสถานี มีการสำรวจ วิจัย เพื่อนำผลมาใช้ในการจัดและผลิตรายการ โดย กำหนดเป็นแผนงานอย่างต่อเนื่อง และควรมีการวางแผนการสร้างบุคลากรใหม่ เปิดโอกาสและพัฒนาบุคลากร เดิม บุคลากรใหม่ควรมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสภาพสังคมและเทคโนโลยีการกระจายเสียงในอนาคต รวมทั้ง มีการพัฒนาเครือข่ายด้านการกระจายเสียงและเทคโนโลยีสื่อมวลชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12014
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140811.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons