Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12024
Title: | นิตยสาร |
Other Titles: | Magazine |
Authors: | จันทนา ทองประยูร พรภัทร อัมราภินันท์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ วารสาร |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | ตลาดนิตยสารมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้สนใจในธุรกิจนิตยสารมากขึ้น แต่เอกสารข้อมูลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของนิตยสารและการจัดทำยังมีไม่มากนัก การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับนิตยสารและการจัดทำ นำมารวบรวมเพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงแก่ผู้สนใจงานด้านนิตยสาร ผลการศึกษาพบว่า นิตยสารเป็นสิ่งพิมพ์รายคาบที่มีเนื้อหาหลากหลาย มีการเย็บเล่ม ทำปก จัดหน้าอย่างสวยงาม และมุ่งหวังผลกำไรจากการจัดทำ นิตยสารมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ปก สารบัญ บทบรรณาธิการเนื้อหา ภาพประกอบ และโฆษณา สิ่งพิมพ์รายคาบที่จัดได้ว่าเป็นนิตยสารเล่มแรกคือ Journal des Scavans ออก ในกรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. 1665 ต่อมาใช้คำว่า magazine เรียกสิ่งพิมพ์รายคาบนี้ตามชื่อนิตยสาร Gentleman's Magazine ของ Edward Cave ที่ออกในลอนดอน ค.ศ. 1731 นิตยสารมีพัฒนาการด้านรูปเล่มและเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจนได้รับความนิยมอย่างสูงจากมวลชน หลายฉบับจัดพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ และมียอดจำหน่ายหลายล้านเล่ม ส่วนนิตยสารไทยเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยหมอบรัดเล ได้ออก หนังสือจดหมายเหตุฯ (The Bangkok Recorder) เมื่อ พ.ศ. 2387 ต่อมากิจการนิตยสารเจริญขึ้นเป็นลำดับจนถึงยุคทองของนิตยสารในสมัยรัชกาลที่ 6 และเข้าสู่ยุคซบเซาในรัชกาลที่ 8 จากภาวะสงครามโลกและเหตุการณ์ทางการเมือง และก้าวเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูในสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึงปัจจุบัน องค์กรนิตยสารประกอบด้วย 3 หน่วยงานหลัก คือ กองจัดการธุรกิจ กองบรรณาธิการ กองการผลิต โดยมีบรรณาธิการอำนวยการเป็นผู้บริหารสูงสุด ก่อนการจัดทำนิตยสารต้องมีการกำหนดเป้าหมาย นโยบายฝ่ายบรรณาธิการ การวางแผนเกี่ยวกับการผลิต การตรวจสอบค่าใช้จ่าย การกำหนดอัตราค่าโฆษณา และการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานนิตยสาร โดยรายได้หลักของนิตยสารจะมาจากยอดจำหน่ายและการขายพื้นที่โฆษณา ซึ่งยอดจำหน่ายสูงจะส่งผลให้พื้นที่โฆษณามีราคาสูงด้วย การจัดทำนิตยสารเริ่มจากการบรรณาธิกรนิตยสาร โดยบรรณาธิการจะทำหน้าที่วางแผนการจัดทำเขียนบทบรรณาธิการ จัดหาต้นฉบับ และกองบรรณาธิการที่อยู่ในความควบคุมของบรรณาธิการ จะทำหน้าที่เตรียมต้นฉบับด้วยการบรรณาธิกรต้นฉบับ การกำหนดรายละเอียดในการพิมพ์ การเตรียมภาพ การออกแบบจัดหน้านิตยสาร ต่อจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการผลิตนิตยสารให้เป็นรูปเล่ม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ คือ งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12024 |
Appears in Collections: | Comm-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128439.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License