Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12042
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนิวัต ศุภมาตย์, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-27T06:43:32Z-
dc.date.available2024-05-27T06:43:32Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12042-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 338 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ (2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ ด้านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการชี้แจงเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และด้านการนิเทศและการประเมินการสอนของครู และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) พัฒนาตนเองด้านการวางแผนและนิเทศอย่างต่อเนื่อง (2) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกำหนดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูให้สอดคล้องกับความต้องการของครู (3) พัฒนาทักษะการวิจัยเพื่อส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ (4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีความถูกต้องและทันสมัยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ (5) กระตุ้นและขับเคลื่อนการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และ (6) ศึกษาเกณฑ์คุณภาพด้านความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้และให้คำแนะนำการจัดการชั้นเรียนให้ถูกต้องตามที่กำหนดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--ชัยภูมิth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1th_TH
dc.title.alternativeInstructional leadership of school administrators under the Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study 1) the instructional leadership of school administrators; and 2) the guidelines for development of instructional leadership of school administrators under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 338 teachers in schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021, which was selected by stratified random sampling based on school size. The informants consisted of 6 people who were the administrators of Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, educational supervisors, school administrators, and teachers. The instruments used for data collection were (1) a rating scale questionnaire dealing with instructional leadership of school administrator with reliability coefficients of .97, and (2) a semi-structure interview form dealing with the guidelines for development of instructional leadership of school administrators. The statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows: 1) the instructional leadership of school administrator in overall and all aspect were at high level, which could be ranked based on their rating means as follows: developing teacher to be a professional teacher, creating an atmosphere conducive to learning, clarification on vision and mission, curriculum and teaching development, and supervision and assessment of teaching; and 2) regarding the guidelines for development of instructional leadership of school administrators, it was found that school administrators should: (1) continuously improve themselves in planning and supervision; (2) exchange opinions and collaborate on teachers' operational motivation in accordance with the teacher's needs. (3) develop research skills to encourage teachers to conduct research in order to develop new teaching methods; (4) exchange knowledge about the creation of database that is necessary for accurate and up-to-date teaching and learning with expert, regularly, (5) stimulate and drive the use of information technology systems for appropriate teaching and learning; and (6) study the quality criteria for the safety of the school environment to develop learning resources and give advice on classroom management accordinglyen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons