Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12054
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัศนา หาญพล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจำรัส ศรีลือ, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-05-27T08:54:58Z-
dc.date.available2024-05-27T08:54:58Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12054-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ และสาขาวิชาการศึกษา และ 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ และสาขาวิชาการศึกษา ประชากรใช้ในการวิจัย คือ นิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งหมด 440 คน โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน และทำการสุ่มแบบแบ่งช่วงชั้นตามสาขาวิชาการศึกษา จำนวน 11 สาขาวิชาการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาพบว่า แหล่งสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยจัดให้บริการที่ใช้บริการระดับมากที่สุดคือ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน รองลงมา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และห้องสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ประเภทของสารสนเทศพบว่า นิสิตใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในระดับมาก ได้แก่ รายงานการวิจัย/รายงานประจำปี/รายงานการสัมมนาทางวิชาการ นิสิตใช้สื่อโสตทัศน์ในระดับปานกลาง ได้แก่ วัสดุกราฟิก เช่น แผนภาพ แผนภูมิ และฐานข้อมูลออนไลน์ที่นิสิตใช้ในระดับมาก 3 อันดับ ได้แก่ ฐานข้อมูลออนไลน์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดให้บริการ ฐานข้อมูล ThaiLIS และฐานข้อมูล ScienceDirect 2) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาด้านสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ที่มีให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ 3) นิสิตที่มีเพศต่างกัน มีการใช้สารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สื่อสิ่งพิมพ์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตเพศชายมีการใช้สารสนเทศมากกว่านิสิตเพศหญิง และนิสิตที่มีสาขาวิชาการศึกษาต่างกัน มีการใช้สารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสื่อโสตทัศน์และฐานข้อมูลออนไลน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตที่ศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษามีการใช้สารสนเทศมากกว่านิสิตที่ศึกษา ในสาขาวิชาการศึกษาอื่น และ 4) นิสิตที่มีเพศต่างกัน มีปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาการใช้สารสนเทศด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตเพศชายมีปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่านิสิตเพศหญิง และนิสิตที่มีสาขาวิชาการศึกษาต่างกัน มีปัญหาการใช้สารสนเทศด้านแหล่งสารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ โดยภาพรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แหล่งสารสนเทศ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และด้านสื่อโสตทัศน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตที่ศึกษาในสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษามีปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่านิสิตที่ศึกษาในสาขาวิชาการศึกษาอื่นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการใช้สารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeInformation use for conducting theses writing and independent studies by master’s degree students at Faculty of Education, Burapha Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this survey research were to: 1) study the information use for conducting thesis and independent study of master’s degree students from the Faculty of Education, Burapha University; 2) study the problems of information use for conducting thesis and independent study of master’s degree students from the Faculty of Education, Burapha University; 3) compare information use for conducting thesis and independent study of master’s degree students from the Faculty of Education, Burapha University, classified by gender and field of study; and 4) compare the problems of information use for conducting thesis and independent study of master’s degree students from the Faculty of Education, Burapha University, classified by gender and field of study. The population consisted of 440 enrolling master’s degree students in the Faculty of Education, Burapha University in the 2020 academic year. Krejcie & Morgan’s sample size table was utilized to determine the 205 samples and then stratified random sampling by 11 fields of study. The research tool was questionnaires. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation; t-test, one-way anova, and Scheffe’s Method. The results revealed that: 1) The sample groups highly used Burapha University Central Library Bansaen Campus, followed by Library Chanthaburi Campus, and Library Sakaeo Campus as they were information resources provided by the University. Research reports, annual reports, and academic seminar reports were mostly used as information types. They used the audio-visuals at a moderate level, such as graphics and charts; meanwhile, the top 3 online databases accessed included other online databases apart from the databases that the university library provided, ThaiLIS and ScienceDirect. 2) The overall problems of information use for conducting thesis and independent study among the samples were at a moderate level. The problem was publications in type of thesis and dissertation did not match the need. 3) Students of different gender used information for conducting a thesis and independent study overall at the same level. Regarding each item, it was found that printed media was statistically significant at .05 level. Male students used information much more than female students. Students of different fields of study used information for conducting a thesis and independent study overall were statistically significant at .05 level. Considering each item, it was found that audio visual and online databases were statistically significant at .05 level. Students who study in educational technology used information much more than students in other fields of study. 4) Problems students of different gender had in information use for conducting a thesis and independent study overall were not different. Considering each item, it was found that the problem of information technology access was statistically significant at .05 level. Male students used information much more than female students. Students in different fields of study had problems in information use for information resources, for conducting thesis and independent study overall were different. Considering each item, it was found that information resources, such as printed media and audio-visual materials, were statistically significant at .05 level. Students studying psychology had many more problems in information use than students in other fields of studyen_US
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons