กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12057
ชื่อเรื่อง: การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The implementation of good governance principles of the Headquarters Provincial Police Region 9
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญมณี ไชยชนะ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธรรมรัฐ
การบริหารงานตำรวจ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9 (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับผลสัมฤทธิ์ การปฏิบัติงานของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9 และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางเสริมสร้างการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 9 จำนวน 183 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณ โดยการใช้สูตรคำนวณของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งสัดส่วน แบ่งชั้นภูมิและแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาพรวมของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลักประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ หลักคุณธรรมจริยธรรม และหลักประสิทธิผล (2) ภาพรวมของระดับผลสัมฤทธิ์ การปฏิบัติงานของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9 อยู่ในระดับมาก (3) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 4) ปัญหาสำคัญที่พบคือ งบประมาณไม่เพียงพอการปฏิบัติงานมีขั้นตอนมากเกินความจำเป็น และขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ มีการบูรณาการความร่วมมือของแต่ละฝ่ายในการปฏิบัติงานควรมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถและความรับผิดชอบของกำลังพล ส่งเสริมการตัดสินใจร่วมกันเสริมสร้างแรงจูงใจ เช่น เพิ่มสวัสดิการในหน่วยงาน เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12057
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons