Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12091
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมทย์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอังคณา เกตุวารินทร์, 2535--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-30T08:53:19Z-
dc.date.available2024-05-30T08:53:19Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12091-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษาถึงการจัดทำบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่รัฐได้กระจายภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะมาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการกระจายภารกิจของรัฐในด้านการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น โดยนำมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่รัฐได้กระจายภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะมาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการกระจายภารกิจของรัฐในด้านการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก จากการศึกษาพบว่าการกระจายอำนาจ (Decentralization) ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นถูกกำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่ต้องการมุ่งเน้นการถ่ายโอนภารกิจ โดยกำหนดให้ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาคลดหรือยุติบทบาทจากผู้ปฏิบัติเปลี่ยนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ปฏิบัติแทน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ซึ่งนับแต่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ก็ยังเกิดปัญหาว่า การถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนตามภารกิจได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2545 ผลจากการศึกษาในเรื่องนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดของการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น และนำข้อคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคที่กระจายอำนาจและภารกิจมาให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการกระจายภารกิจของราชการบริหารส่วนกลางมายังองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ทั้งนี้เพื่อให้การกระจายอำนาจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุดและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุข--การกระจายอำนาจth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับการกระจายภารกิจของรัฐในด้านการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กth_TH
dc.title.alternativeProblems with decentralization of public services to local administrative organizations : a case study of small sub-district administrative organizationsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study concepts and theories about local administration and the provision of public services by local administrative organizations, as well as the management of public services at the local level in France and Japan, followed by an analysis of the difficulties faced by the government when decentralizing public services to local administrative organizations. Lastly, the author formed recommendations for suitable approaches to solve the problems involved with the decentralization of public services to small sub-district administrative organizations. The research revealed that decentralization is called for under the 1999 Plan and Stages of Decentralization to Local Administrative Organizations Act that is intended as a roadmap to guide the transfer of powers and duties to local administrative organizations while the central government bureaucracy and regional authorities gradually reduce their roles and let local administrative organizations take more active roles in public service provision and other aspects of governance. The powers and responsibilities of different types of local administrative organizations are written in the laws governing the establishment of those organizations. Ever since the law was enacted, the decentralization process has faced problems, especially for small sub-district administrative organizations that lack the capacity to meet the goals set out in the 1999 Plan and Stages of Decentralization to Local Administrative Organizations Act. There are many difficulties both before and after decentralization, most stemming from a lack of preparedness in areas such as organizational management, budget, and personnel. At this point, decentralization of power to small sub-district administrative organizations had not been accomplished according to the intent of the law. To form recommendations, the author drew on the models of decentralization used in France and Japan and also conducted in-depth interviews with the heads of 3 small local administrative organizations and central government and regional government officers in charge of decentralization to 3 small local administrative organizations. The author is of the opinion that before the transfer of powers and responsibilities to small sub-district administrative organizations, there should be a thorough analysis of their preparedness in terms of organizational management, budget, and personnel so that the transfer can be done smoothly and efficientlyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons