กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12091
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับการกระจายภารกิจของรัฐในด้านการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems with decentralization of public services to local administrative organizations : a case study of small sub-district administrative organizations |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก อังคณา เกตุวารินทร์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารสาธารณสุข--การกระจายอำนาจ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษาถึงการจัดทำบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่รัฐได้กระจายภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะมาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการกระจายภารกิจของรัฐในด้านการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น โดยนำมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่รัฐได้กระจายภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะมาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการกระจายภารกิจของรัฐในด้านการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก จากการศึกษาพบว่าการกระจายอำนาจ (Decentralization) ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นถูกกำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่ต้องการมุ่งเน้นการถ่ายโอนภารกิจ โดยกำหนดให้ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาคลดหรือยุติบทบาทจากผู้ปฏิบัติเปลี่ยนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ปฏิบัติแทน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ซึ่งนับแต่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ก็ยังเกิดปัญหาว่า การถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนตามภารกิจได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2545 ผลจากการศึกษาในเรื่องนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดของการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น และนำข้อคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคที่กระจายอำนาจและภารกิจมาให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการกระจายภารกิจของราชการบริหารส่วนกลางมายังองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ทั้งนี้เพื่อให้การกระจายอำนาจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุดและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12091 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License